วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รู้จักมุสลิม

การกำเนิดของอิสลามเป็นส่วนสำคัญยิ่งของประวัติศาสตร์ เพราะในคริสศตวรรษที่ 5 และ 6 โลกตกอยู่ในยุคมืด และไม่มีแสงสว่างที่จะเข้ามาแทนที่เลย ความเชื่อต่างๆ ที่เชื่อถือกันมาแต่ในสมัยโบราณมีแต่ความเสื่อมโทรม และความรุ่งเรืองในช่วงสุดท้ายของวัฒนธรรมโบราณก็ค่อยๆ หายไปพร้อมกับอารยธรรมก็กำลังถูกทำลายลง แต่ในศตวรรษที่ 7 แนวทางแห่งประวัติศาสตร์ได้ถูกชาวอาหรับเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในบรรดาประชาชาติเหล่านี้มีบุคคลหนึ่งได้ลุกขึ้นมาประกาศสารของพระผู้เป็นเจ้า โดยหวังที่จะรวบรวมมนุษย์ชาติด้วยกันจากตะวันออกถึงตะวันตกในนามของพระผู้เป็นเจ้าผู้ซึ่งจัดระเบียบใหม่ในแก่โลกมนุษย์ ผู้สร้างอารยธรรมใหม่ให้แก่มนุษย์ชาติ เขาผู้นั้นคือ มุฮัมมัดศาสดาแห่งอิสลาม
ประวัติของท่านศาสดาถูกเก็บรักษาไว้อย่างละเอียด และมีหลักฐานที่เชื่อถือได้และการที่จะเข้าใจอิสลามได้ดีขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจประวัติของท่าน มุฮัมมัด เกิดในปี ค.ศ. 571 ณ เมืองเมกกะ เป็นบุตรชายของอับดุลเลาะฮ ตระกูลฮาซิมและอามินะฮฺ แห่งตระกูลซุฮรอ ทั้งสองตระกูลนี้เป็นตระกูลที่ได้รับการยกย่องและมีอำนาจในเผ่ากุเรช หลังจากท่านเกิดได้เล็กน้อยบิดาของท่านก็สิ้นชีวิต ทิ้งมรดกไว้เพียงอูฐ 5 ตัว แกะเพียงเล็กน้อยและสาวรับใช้ แม่ของท่านสิ้นชีวิตเมื่อท่านอายุได้ 6 ขวบ ท่านจึงได้อยู่ในความดูแลของปู "อับดุลมุตฏอลิบ" ซึ่งได้สิ้นชีวิตลงอีก 2 ปีต่อมา หลังจากนั้นมุฮัมมัดก็ได้รับการเลี้ยงดูจากลุงของท่านซึ่งเป็นทั้งเพื่อนและผู้ปกครองที่ดีของท่านตลอดเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่
ในวัยเด็ก ท่านได้ติดตามของลุงของท่านไปกับกองคาราวงานของพ่อค้าไปซีเรีย เพื่อช่วยค้าขายบางทีก็ดูแลแพะ แกะให้ ท่านไม่สามารถอ่านและเขียนได้เลย แต่ท่านก็สามารถพัฒนาด้านจิตใจได้ดีจนถูกขนามนามว่า "อัล-อมีน" (ผู้ซื่อสัตย์) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการได้รับความเคารพยกย่องในด้านความซื่อสัตย์และความเที่ยงตรง เมื่ออายุ 25 ปี นางคอดียะห เศรษฐีนีหม้ายเผ่ากุเรซได้จ้างท่านทำงาน โดยให้ติดตามไปกับกองคาราวานในการค้าขายที่ซีเรีย มุฮัมมัดทำความสำเร็จในธุรกิจในแก่คอดิยะฮเป็นอย่างดี และหลังจากกลับมาขอเธอก็ขอแต่งงานกับมุฮัมมัด เธออายุมากกว่าท่าน 15 ปี และด้วยความยินยอมของลุง มุฮัมมัดก็ยอมรับข้อเสนอของนาง ชีวิตแต่งงานระหว่างทั้งสอง เป็นไปอย่างราบรื่น จนกระทั่งนางได้สิ้นชีวิตลงยังเยาว์ ฟาติมะห์ลูกสาวคนสุดท้องเป็นคนเดียวซึงดำรงชีวิตอยู่หลังจากท่านถึงแก่กรรมแล้ว 6 เดือน เธอได้แต่งงานกับญาติของท่านที่ชื่อ อาลี บุตรของอาบูตอลีบ
ตลอดชีวิตของท่านเต็มไปด้วยการภาวนาตรึกตรอง การเสียสละด้วยความจริงใจและความอ่อนโยน มุฮัมมัดดำรงตนอย่างบริสุทธิ์ตามลำพังในสังคมอาหรับที่ไร้ศีลธรรม สังคมที่เต็มไปด้วยความขยะแขยง การบูชารูปปั้นต่างๆ การทุจริต ฆาตกรรม ลักขโมย กามารมณ์ การมีภรรยาอย่างไม่จำกัดจำนวน โหดเหี้ยมกับสตรี กดขี่คนจน การกู้ยืมที่คิดดอกเบี้ยสูงลิ่ว การพนัน ความมึนเมา การฆ่าทารกหญิง ความอาฆาตมาดร้าย ความสับสนอลหม่าน และความยุ่งเหยิง ทั้งนี้เพระามักกะฮสมัยนั้นไม่มีรัฐบาลไม่มีกฎหมายบังคับ ไม่มีศาลสถิตยุติธรรม ไม่มีแผนการคลังที่จะรับผิดชอบในการใช้จ่าย สภาพดังกล่าวเป็นสภาพของอาหรับก่อนยุคอิสลาม และเป็นยุคแห่งความโง่เขลาที่กำลังจะหมดไป มุฮัมมัดเห็นว่าสังคมมีแต่ความน่ากลัว จึงมักจะเข้าไปหาความสงบในถ้ำ ฮิรออ ใกล้มักกะฮเพื่อสวดอ้อนวอน ท่านเชื่อว่ามีทางเดียวเท่านั้นคือการยอมตนต่อพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ) เลิกการเคารพบูชารูปปั้น ดำรงไว้ซึ่งความอดทนและดำรงความยุติธรรม ตลอดจนความเมตตาปราณี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ชีวิตที่ถูกต้องและดีงาม
ในขณะนั้นท่านได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในด้านความซื่อตรง ความเมตตาปราณี ร่าเริงเฉลียวฉลาดและถ่อมตน บุคคลิกของท่านนั้นงดงามเป็นสง่า ช่างคิด รอบคอบ ท่าทางของท่านกระปรี้กระเปร่า ภูมิฐาน ใบหน้าของท่านเปี่ยมไปด้วยปฏิภาณอันเลิศล้ำ มุฮัมมัดได้รับโองการครั้งแรกเมื่ออายุ 40 ปีในถ้ำฮิรออ หลังจากที่ท่านได้ปฏิบัติกิจวัตรด้วยการถือศีลอดสวดมนต์และกำลังสงบใจใช้ความคิด ท่านได้ยินเสียงอันลึกลับว่า "ท่านผู้เป็นศาสดาของข้าพเจ้า" อีกไม่กี่วันต่อมาขณะที่ท่านใช้เวลาในตอนกลางคืนที่ถ้ำฮิรออ เทวทูตญิบรีล ได้ปรากฏตัวขึ้นและกล่าวว่า "จงอ่าน" มุฮัมมัดบอกว่า "ฉันอ่านไม่เป็น" แต่ญิบรีลก็บอกว่า "จงอ่านเถิด" และในทันใดนั้นเองแสงจากพระเจ้าก็ฉายขึ้นและท่านก็เข้าใจ แล้วเปิดเผยซึ่งความจริงก็ปรากฎกับท่าน
"จงอ่านในนามของพระเจ้า……….."
ด้วยความตกใจแต่สามารถควบคุมสติได้ มุฮัมมัดได้เดินกลับบ้าน และได้เล่าให้ภรรยาสุดที่รักและซื่อสัตย์ฟัง แล้วก็เริ่มเชื่อว่าสัจธรรมเกี่ยวกับพระเจ้าและมนุษย์กำลังถูกเปิดเผยแก่มุฮัมมัดแล้ว การเปิดเผยสัจธรรมได้หยุดประมาณ 40 วัน หลังจากนั้นการประทานสัจธรรมก็ได้เริ่มต่ออีก มุฮัมมัดถูกบัญชาให้นำโองการแห่งเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้าไปเผยแพร่และการปฏิบัติภารกิจในการปฏิรูปมนุษยชาติ ท่านได้เริ่มด้วยการสั่งสอนความเชื่อใหม่ "อิสลาม" ให้กับญาติผู้ใกล้ชิดและเพื่อน ภรรยาของท่าน คอดิยะห์เป็นบุคคลแรกที่ยอมรับอิสลาม คนต่อมาที่กลับมายอมรับคือลูกพี่ลูกน้องของท่าน "อาลี" ซึ่งขณะนั้นยังเยาว์อยู่ ต่อมาก็คือเพื่อนของท่าน อาบูบักร และทาสผู้ซื่อสัตย์ "ซัยดิ์" ศาสนาของมุฮัมมัดมีอะไรที่น่าสนใจ สิ่งที่น่าสนใจในครั้งแรกของการเผยแพร่ศาสนาของท่านก็คือ ศาสดามุฮัมมัด ได้สั่งสอนความเชื่อใหม่ที่ท่านได้รับมาอย่างลับเป็นระยะเวลา 3 ปี ก็มีเพื่อน คนในครอบครัวและชนชั้นต่ำในมักกะฮมารับอิสลาม การพบปะได้มีขึ้นบ้านอันโดดเดี่ยวของท่าน ซึ่งใช้เป็นที่สอนหลักการอิสลาม แม้กระนั้นก็ยังถูกอันธพาลคอยก่อกวนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านนบีจำต้องต่อสู้ในระยะแรก ในขณะที่ท่านสั่งสอนก็ได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากพวกหมู่ชาวอาหรับซึ่งต่อต้านการทำงานของท่าน และอาบูลาฮับลุงของท่านซึ่งเป็นเศรษฐีที่มีอิทธิพลก็ได้กลายเป็นศัตรูที่ร้ายการของท่านไปด้วย ตามหน้าที่ของผู้ได้รับประทานโองการ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) เริ่มเผยแพร่อิสลามแก่คนทั่วไปท่านประกาศคำสั่งสอนของพระเจ้าอย่างกล้าหาญ และไม่มีความเกรงกลัวแต่อย่างใด
ศาสนาใหม่เริ่มเปิดเผยขึ้นซึ่งเท่ากับว่าการประกาศเป็นศัตรูกับลัทธิการบูชาพระเจ้าหลายองค์ จึงได้รับการต่อต้านจากชาวกุเรชและชาวมักกะฮอื่นๆ ท่านนบีถูกเหยียดหยามและถูกประนามว่าหมอดู ผู้วิเศษและแม้แต่คนบ้าก็ยังคงเคย แต่อย่างไรก็ตามจำนวนของผู้ติดตามของท่านก็เริ่มเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ ซึ่งรวมทั้งฮัมซะฮลุงขอท่าน และอุมัรเด็กชาวกุเรชผู้ซึ่งมีความเข็มแข็งและความกล้าหาญ ศัตรูของท่านก็ยิ่งต่อต้านท่านและยิ่งเพิ่มความโหดร้ายมากขึ้น ประมาณ 10 ปีที่ท่านและผู้ติดตามได้รับการจองล้างจองผลาญอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ท่านศาสดก็มิได้พยายามทำให้ชาวมักกะฮต้องได้รับความกระทบกระเทือนบรรดาหัวหน้าครอบครัวหลายคนจึงได้ปรึกษากัน แล้วไปหาอาบูตอลิบลุงของท่านและประกาศว่าจะต้องมีสงคราม อาบูตอลิบได้วิงวอนต่อท่านนบีว่า อย่าได้ไปทำลาย (พรรคพวก) ครอบครัวของท่านเลย และแนะนำให้ท่านศาสดาถอนตัวไปเสีย แต่ท่านศาสดาประกาศว่าแม้ดวงอาทิตย์จะตกลงบนมือขวา ดวงจันทร์ตกลงมาที่มือซ้ายของท่าน ท่านจะไม่หันเหไปจากงานที่พระเจ้ามอบหมายให้แก่ท่านเป็นอันขาด อาบูตอลิบเมื่อเห็นว่าท่านศาสดาไม่ยอมแน่นอน จึงรับประกันว่าจะปกป้องท่านอย่างไม่ยอมล่าถอย
ชาวมักกะฮทุก ๆ ครอบครัวได้ตกลงในการที่จะลงโทษชาวมุสลิม ท่านศาสดามุฮัมัดจึงแนะนำผู้ติดตามของท่านบางคนให้อพยพไปหาที่พำนักที่อบิสสิเนียในปีที่ 5 ของการเผยแพร่ของท่านศาสดาแต่ไปอยู่ได้ 3 เดือนก็ต้องอพยพกลับมา และต่อมาในปีที่ 7 มุส่ลิมจำนวนมากได้อพยพไปยังอบิสสิเนียสถานที่ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก กษัตริย์เนกุส ชาวมักกะฮที่มิได้ยอมรับคำสั่งสอนอิสลาม ก็ได้ส่งตัวแทนไปหากษัตริย์เนกุส เพื่อเรียกร้องให้ส่งผู้อพยพนั้นคืนมาแต่ท่านศาสดาก็ได้ทำลายความพยายาม นั้นเสียโดยการส่งยัฟฟาร์ญาติของท่าน ซึ่งได้รับความรู้เกี่ยวกับอิสลามอย่างดี เมื่อกษัตริย์อบิสสิเนียและผู้ศึกษาเกี่ยวกับศาสนาได้ยินกรุอาน ต่างก็ยอมรับเข้ามาอยู่ข้างมุสลิมทำให้ผู้นำของมักกะฮโมโหอย่างสุดขีดจึงได้ปิดล้อมท่านศาสดาและผู้ติดตามให้อยู่ในถานที่ซึ่งได้ครอบครอง
ในปีที่ 10 ของการเผยแพร่ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ก็ได้รับความเศร้าอย่างสุดซึ่งอีก 2 ครั้ง ท่านต้องสูญเสียภรรยาสุดที่รัก และสองเดือนต่อมาลุงที่ท่านเคารพนับถือเป็นผู้ปกป้องท่านก็จากท่านไป แต่อย่างไรก็ตามความพยยามของท่านก็มิได้สั่นคลอนและความเชื่อมั่นในการเผยแพร่ของท่านก็มิได้จบสิ้นไปแต่อย่างใด ภายหลังจากการเผยแพร่ ที่เมืองฏออีฟก ท่านได้กลับสู่มักกะฮ และขณะที่ท่านเผยแพร่อย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ท่านก็ได้ติดต่อกับชาวอาหรับที่มาดินะฮซึ่งทำสัญญากับชาวยิวว่าจะยอมให้มีการเผยแพร่ความคิดเห็นทางศาสนากันได้อย่างเสรี ชาวมาดีนะฮเริ่มเชื่อถืออย่างจริงจังและเมื่อกลับมาดีนะฮ พวกเหลานั้นได้เผยแพร่ข่าวนี้ออกไป จำนวนผู้เชื่อถือก็เริ่มมากขึ้น อิสลามได้แผ่ซ่านผลิดอกออกผลสมาชิกใหม่ที่ยอมรับอิสลามในมาดินะฮ ต่างเชื้อเชิญท่านนบีไปยังเมืองของตน
ในขณะที่การกดขี่ข่มเหงในมักกะฮเริ่มรุนแรงขึ้น ผู้นำในมักกะฮวางแผนฆ่าท่านศาสดา ท่านศาสดาได้แนะนำให้ผู้ติดตามท่านหนีจากมักกะฮไปสู่มาดีนะฮ ตัวท่านเองยังคงอยู่ในมักกะฮอย่างกล้าหาญทั้งๆที่มีอันตรายอย่างใหญ่หลวงจนเป็นคนสุดท้ายแล้วท่านจึงได้พยายามติดตามไป เมื่อผู้คิดร้ายในมักกะฮไปถึงที่พักของท่านนบี ก็ได้พบว่าท่านนบีอพยพออกไปแล้ว การอพยพครั้งนั้นรู้จักกันว่า "ฮิจเราะฮ" เป็นวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 622 เป็นการริเริ่มยุคของชาวมุสลิม ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) พร้อมด้วยผู้ติดตามเพื่อนที่ซึ่อสัตย์ที่สุด "อาบูบักร" ได้พำนักที่ถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขา "เซาร์" และแม้ว่าจะถูกตามล่าจากศัตรู ท่านก็อยู่อย่างสงบท่ามกลางภยันตราย และในถ้ำนั้นท่านรับประกันกับอาบูบักรว่าพระเจ้าจะอยู่กับเรา ศาสดามุฮัมมัดและสาวกของท่านไปถึง "กูบา" ซึ่งอยู่ในเขตนอกๆของมาดีนะฮ ท่านศาสดาได้รับความไว้วางใจจากประชาชน และได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำ การเข้ามาสู่มาดีนะฮของท่าน แสดงถึงความเจริญของอิสลามอย่างไม่หยุดยั้ง เหมือนกับกิจกรรมการเมืองที่ได้รับความสำเร็จขั้นสูงสุด ท่านศาสดารวบรวมชาวมุสลิมในมาดีนะฮที่ช่วยเหลือท่าน (พวกอันศอร์) และพวกมูฮายีรีน (ผู้อพยพจากมักกะฮ)เข้าด้วยกันในหมู่ผู้ที่มีเชื่อสายเก่าแก่ และคนที่อยู่แห่งนั้นก็รวมใจกันสร้างมัสยิดแห่งแรก ซึ่งท่านนบีช่วยสร้างมัสยิดนั้นด้วยมือของท่านเอง
ชาวยิวในมาดีนะฮ ได้ยอมคืนดีด้วยการตกลง แต่ท่านศาสดดก็ตระหนักแก่ใจในภายหลังว่าแท้จริงแล้วพวกเหล่านั้นเป็นศัตรูร้าย เพราะพวกนั้นได้ผิดข้อตกลงและเข้าไปเป็นฝ่ายพันธมิตรกับศัตรูของท่านคือชาวกุเรชที่มักกะฮ ดังนั้นท่านจึงต้องพิจารณาอย่างลึกซึ่งเกี่ยวกับพวกนี้เสมอ พวกมักกะฮที่ไมี่เชื่อถือก็ยังก็ยังคงตามจองล้างจองผลาญชาวมุสลิมอยู่ตลอดเวลา และความเป็นศัตรูกันระหว่างชาวมักกะฮและชาวมาดีนะฮก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นในปีที่ 2 ของฮิจเราะฮ สงครามบัดรจึงเกิดขึ้น (รอมฎอนฮิจเราะฮที่ 2 = ค.ศ. 624) นับเป็นการเผชิญหน้าครั้งแรกในช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ท่านศาสดากับชาวมุสลิมอีก 300 คนชนะสงครามชาวมักกะฮ ซึ่งมีจำนวนถึงพันคนได้อย่างสิ้นเชิง สงครามครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์มุสลิม ตั้งแต่นั้นมาฐานะและชื่อเสียงของอิสลามได้รับการรับรองและถึงแม้ว่าอีกสามปีต่อมาชาวมุสลิมได้พ่ายแพ้การสงครามที่ภูเขาอูฮูด (OHOD) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาดีนะฮ จนกระทั่งท่านศาสดาจะได้รับบาดเจ็บ แต่ก็ไม่มีสิ่งใดจะบดบังชัยชนะที่บัดรได้ การยึดครองมาดีนะฮโดยชาวกุเรชและพันธมิตรของเขาในปีที่ 5 ของฮิจเราะฮ (war of trench) ก็ไม่บังเกิดผลอันใด
ปีต่อมาท่านศาสดาได้รวบรวมหัวหน้าพวกมุสลิม 1400 คนเดินทางไปยังมักกะฮ และถึงแม้ว่าชาวมักกะฮจะไม่ยินยอม ท่านศาสดาก็ได้รับผลประโยชน์อย่างมหาศาลโดยที่พวกของท่านดำรงไว้ซึ่งความสงบสุขถึง 10 ปี ซึ่งรู้จักในนามของสันติภาพแห่งฮุดัยบิยะฮ (ฮ.ศ. 6 = ค.ศ. 628) สัญญานี้แสดงถึงความสามารถของท่านศาสดาทั้งๆ ที่เพื่อนของท่านบางคนไม่พอใจและไม่ยอมรับในสิ่งที่ได้ ท่านศาสดาก็ยอมรับที่จะไม่เพิ่มคำว่า "รสูล" (ศาสนทูต) ลงในลายเซ็นในสารของท่านเมื่อกระทำในสัตยบรรณกับมักกะฮ แต่ในอีกทางหนึ่งท่านรู้วิธีดึงเอากำลังใจจากคู่สัญญา และปฏิบัติต่อชาวมักกะฮในฐานะผู้นำแห่งรัฐได้ อิสลามจึงได้รับผลประโยชน์มากอันเนื่องมาจากมุสลิมจากมาดีนะฮได้รับการยินยอมให้เดินทางไปแสวงบุญในปีต่อมา และยิ่งกว่านั้นผู้หลบหนีชาวกุเรชในมาดีนะฮและแม้แต่ชาวมุสลิมก็ได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ แต่ที่ใดก็ตามที่ผู้หลบหนีชาวมาดีนะฮในมักกะฮไม่กลับ ผลลัพธ์ก็คือการผสมผสานอย่างอิสระกว่าเดิมระหว่างมุสลิมกับกาฟิร (ผู้ปฏิเสธพระเจ้า) ได้อุบัติขึ้น อิสลามได้มุสลิมจากเผ่ากุเรชเข้ามาเสริมกำลัง ที่สำคัญที่สุดคือ คอลิด อิบน อัล-วาลิดและอบัร อิบน อัลอัสร ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงในหมู่ชนที่นับถืออิสลามในสมัยต่อมา ไม่เพียงเท่านี้ การปฏิบัติภารกิจแสวงบุญได้เป็นที่ประทับใจในหมู่มักกะฮ ซึ่งถือเป็นชัยชนะของอิสลาม
ในปีที่ 8 ของฮิจเราฮ ท่านศาสดามุฮัมมัดในฐานะหัวหน้ากองทัพ ได้นำหน้ายาตราทัพเข้ายึดครองมักกะฮ ซึ่งยอมแพ้อย่างไม่มีการต่อสู้ ศัตรูคู่อาฆาตของท่านคืออาบู ซุฟยาน หัวหน้าชาวกุเรชได้เข้ามาเป็นมุสลิมและประชาชนทั้งหมดก็เช่นกัน สิ่งบูชาต่างๆ ที่กะอบะฮถูกทำลายสิ้น เสียงเรียกของขอพร "อัลลอฮุอักบัก" ดังกระหึ่มรอบกะอบะฮ ท่านศาสดาแสดงถึงความมีน้ำใจอันยิ่งใหญ่ต่อศัตรูของท่านด้วยการประกาศนิรโทษกรรมและชัยชนะของมักกะฮ แสดงถึงอำนาจสูงสุดเหนือชาวอาหรับทั้งมวล
ท่านศาสดาส่งผู้แทนไปยังกษัตริย์ทั้งหมดที่รู้จัก และผู้มีอำนาจ "เฮราคล้อส โคสโรสที่ 2 เนกุสแห่งอบิสสิเนีย และอัลมุเกากุส (หัวหน้าคอปส์) ของอียิปต์ และหัวหน้าของเมืองอาหรับต่างๆ เรียกร้องให้เขาเหล่านั้นยึดมั่นอิสลาม ในอีกทางหนึ่ง คณะทูตได้หลั่งไหลมาจากส่วนต่างๆ ของคาบสมุทรยอมจำนนและยอมรับอิสลาม ด้วยประการฉะนี้ อิสลามและอาณาจักรก็ได้แผ่ขยายไกลออกไปทุกวัน ๆ
ในปีที่ 10 ของฮิจเราะฮ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ตั้งใจจะทำให้การแสวงบุญที่มักกะฮและผดุงไว้ซึ่งการทำพิธีทุกอย่าง มุสลิมหลายแสนคนจากทุกส่วนของอาหรับมารวมกันเพื่อรวมกับท่านศาสดาในการแสวงบุญครั้งสุดท้าย ซึ่งต่อมารู้จักกันว่า "การแสวงบุญเพื่ออำลา" ท่านสั่งสอนชาวมุสลิมประมาณสี่แสนคนสี่หมื่นคน ปลุกเร้าศรัทธาให้เป็นคนใจบุญและเที่ยงธรรม ละเว้นบาป ปกป้องผู้อ่อนแอกว่า คนจนและสตรี และท่านสอนถึงคำสอนสุดท้ายของอิสลาม ภาระของท่านนบีได้สมบูรณ์แล้ว
หลังจากการกลับมาดีนะฮของท่านนบี (ศ็อล) ท่านก็ป่วยและสิ้นชีวิต ในวันที่ 12 เดือน 3 ซึ่งเป็นปีที่ 11 ของฮิจเราะฮ ( 8 มิถุนายน ค.ศ.632) ท่านถูกฝังในบ้านของอาอีซะฮภรรยาของท่าน
นอกเหนือไปจากห้วงสมุทรแห่งความหลงลืม อาหรับเข้าในประวัติศาสตร์ในฐานะประชาชาติที่เจริญแล้วด้วยความดีเลิศ ในด้านความซื่อสัตย์ ความจริงและสันติ ยกฐานะตั้งเองเหนือประชาชนในสมัยเดียวกัน และทั้งหมดนี้เพราะ มุฮัมมัด.





หลักศาสนบัญญัติ


หลักศาสนบัญญัติหรือหลักปฏิบัติ ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่อิสลามได้บัญญัติไว้เป็นหลักการพื้นฐาน มุสลิมจะต้องนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะละเว้นมิได้โดยเด็ดขาด ผู้ละเว้นการปฏิบัติ ผู้นั้นจะได้รับบาปมหันต์จากพระผู้เป็นเจ้า หลักปฎิบัติสามารถแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ก. หลักปฏิบัติที่บังคับเป็นรายบุคคล ไม่ว่าเป็นชายหรือหญิงก็ตาม นับแต่บรรลุนิติภาวะ ตามหลักการอิสลามเป็นต้นไป และมีสติสัมปชัญญะ เช่น การทำละหมาดวันละ 5 เวลา การจ่ายซะกาตเมื่อครบพิกัด การทำฮัจย์เมื่อมีความสามารถ เป็นต้น ข. หลักปฏิบัติที่บังคับเป็นส่วนรวม เมื่อมีใครได้ปฏิบัติ ภาระของคนทั้งหมดก็จะหมดไป บาปโทษก็ไม่ตก แก่คนเหล่านั้น เช่น การจัดการเกี่ยวกับคนตาย เป็นต้น ค. หลักปฏิบัติที่ไม่ได้บังคับ เว้นไว้ให้เป็นไปตามความสมัครใจ ผู้ใดปฏิบัติ ก็ได้กุศล ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ก็ไม่เกิดโทษ เช่น การละหมาดอีดิลฟิตริ และ อีดิลอัฎฮา เป็นต้น
หลักปฏิบัติพื้นฐาน
หลักปฏิบัติพื้นฐาน หมายถึง หลักศาสนกิจที่อิสลามได้บัญญัติเป็นพื้นฐานแรก สำหรับมุสลิมทุกคนที่จะต้องนำมาปฏิบัติ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของอิสลาม ซึ่งเราเรียกว่า "อัรกานุลอิสลาม" มี 5 ประการ คือ
1. การปฏิญาณตน ผู้ประสงค์จะเข้าสู่อิสลาม จะต้องกล่าวคำปฏิญาณตนอย่างเปิดเผยและชัดเจน พร้อมทั้งเลื่อมใสศรัทธา ตามที่ตนปฏิญาณ และจะต้องประพฤติตามบทบัญญัติอย่างจริงใจ การเป็นมุสลิม มิใช่เพียงการกล่าวคำปฏิญาณ หรือเพียงประพฤติตามแบบมุสลิมเท่านั้น หากจะต้องประกอบด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแท้จริงด้วย องค์ประกอบแห่งการปฏิญาณตน จะต้องมีพร้อมทั้ง 3 ประการ คือ 1. กล่าวปฏิญาณด้วยวาจา 2. เลื่อมใสด้วยจิตใจ 3. ปฏิบัติด้วยร่างกาย บุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม จะต้องจัดการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ เพื่อเหตุผลด้านความสะอาด และสุขภาพอนามัย ประโยคปฏิญาณมิใช่จะกล่าวเพียงเพื่อเริ่มต้นสถานภาพอิสลามเท่านั้น มุสลิมทุกคนควรกล่าวเป้นประจำ เพื่อเตือนใจตัวเองในสิ่งปฏิญาณนั้น โดยเฉพาะที่บังคับจะต้องกล่าว ก็มีอยู่ในบางการปฏิบัติศาสนกิจ เช่น ต้องกล่าวในละหมาด เป็นต้น คำปฏิญาณของอิสลาม มิใช่การสบถสาบานให้มีอันเป็นไปต่างๆ นานา มิใช่คำสวดภาวนา หากเป็นประโยคที่กล่าวแสดงถึงศรัทธามั่นในพระเจ้า และในศาสนทูตมุหัมมัด ผู้ที่ประสงค์จะเข้าอิสลาม จะต้องเริ่มด้วยจิตใจที่มีศรัทธา จากนั้นจึงกล่าวประโยคปฏิญาณ ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องกล่าวได้ การสอนประโยคปฏิญาณ จึงไม่จำเป็นต้องเลือกเอาบุคคลที่มีความรู้ทางด้านศาสนาสูง มุสลิมทุกคนสามารถที่จะกล่าวนำประโยคปฏิญาณได้ทั้งนั้น2. การละหมาด การละหมาด คือ การแสดงความเคารพ นมัสการต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ประกอบด้วย จิตใจ วาจา และร่างกาย พร้อมกัน ผู้ทำละหมาดสม่ำเสมอ จะก่อประโยชน์แก่ตัวเขาเองอย่างเอนกอนันต์ ทำให้จิตใจของเขาสะอาดบริสุทธิ์ ขจัดความหมองหม่นทางอารมณ์ ทำลายความตึงเครียด ทำให้เป็นคนที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน และจิตใจสำรวมระลึกอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ตลอดเวลา เมื่อจิตใจสำรวมอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า และระลึกถึงแต่พระองค์ ก็ไม่มีโอกาสที่จะคิดทำความชั่วต่างๆ คิดแต่จะปฏิบัติ ตามคำบัญชาและบทบัญญัติของพระองค์ ไม่กล้าทำความผิด และฝืนบทบัญญัติของพระองค์ อัลกุรอานระบุไว้ ความ
" จงละหมาดสม่ำเสมอเถิด เพราะแท้จริงละหมาด สามารถยับยั้งความชั่วและความผิดได้ " ( 29 : 45 )
ผู้ปฏิบัติละหมาด ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม 2. บรรลุนิติภาวะตามบทบัญญัติอิสลาม 3. มีสติสัมปชัญญะ 4. มีความสะอาด ทั้ง ร่างกาย เสื้อผ้า และ สถานที่
การทำความสะอาด การทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติ หมายถึง การปลดเปลื้องสิ่งสกปรก ออกจากร่างกายให้หมดสิ้น และชำระร่างกายให้สะอาด
3. การจ่ายซะกาต ซะกาต คือ ทรัพย์จำนวนหนึ่งที่ได้กำหนดไว้เป็นอัตราส่วน จากจำนวนทรัพย์ที่เจ้าของทรัพย์ได้มา จนครบพิกัดที่ศาสนาได้บัญญัติไว้ และนำทรัพย์จำนวนนั้น จ่ายออกไปแก่ผู้มีสิทธิ์ คำว่าซะกาต แปลว่า ความเจริญก้าวหน้า และการขัดเกลาให้สะอาด เนื่องเพราะเมื่อเจ้าของทรัพย์ ได้จ่ายซะกาตออกไป เท่ากับเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาด ปราศจากกิเลสนานาประการ โดยเฉพาะความตระหนี่ ความใจแคบ ซึ่งเป็นกิเลสใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุสำคัญให้สังคมอยู่กันอย่างเห็นแก่ตัว ไม่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน แน่นอน สังคมที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่นานวิกฤติการณ์ก็จะต้องเกิดแก่สังคมนั้น การแก่งแย่ง ฉกชิง กดขี่ ข่มเหง ขูดรีด ทำลายกัน และอาชญากรรมต่างๆ จะต้องอุบัติขึ้น การจ่ายซะกาต จะทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า คนยากใจมีโอกาสได้รับการช่วยเหลือ การสังคมสงเคราะห์ จะกระจายออกไปอย่างกว้างขวาง สถาบันทางสังคมได้รับการพัฒนา รวมทั้งผู้ยากไร้ที่หมดทุนในการประกอบอาชีพ หรือ ไม่มีทุนศึกษาต่อ ก็มีโอกาสที่จะใช้ซะกาต เจือจุนสร้างชีวิตใหม่ แก่ผู้ขาดแคลนและผู้ยากไร้เหล่านั้น ระบบซะกาต หากนำมาดำเนินการอย่างเต็มระบบแล้ว จะมีผลในทางพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านการทหาร ด้านการเมือง และด้านสังคม ตลอดจนด้านอื่นๆ ที่ขาดแคลนทุนโดยตรง เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สังคมมนุษย์อันประกอบด้วยสมาชิกสังคมเป็นจำนวนมากนั้น ย่อมต้องมีสมาชิกบางส่วน ประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจ จนไม่สามารถช่วยตัวเองได้ หากซะกาตไม่มีในสังคมนั้น ผู้ประสบปัญหาดังกล่าว ก็จะกลายเป็นสมาชิกส่วนเกินของสังคม อาจจะกลายเป็นอาชญากรหรือเป็นขอทานได้เท่าๆ กัน ซึ่งคนทั้งสองประเภทนี้ เป็นบุคคลที่สังคมไม่พึงปรารถนา เป็นเศษขยะของสังคม และเป็นผู้บ่อนทำลายความสงบสุขของสังคม ผู้มีฐานะดีทั้งหลาย เมื่อมีอัตราส่วนที่จะนำออกมาโดยซะกาต ก็ย่อมแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี การจ่ายซะกาตนั้น มิใช่จ่ายแบบ มิใช่แบบ "ให้ทาน" แต่เป็นการจ่ายไปเพื่อให้ผู้รับ ได้นำไปเป็นทุนดำเนินการ ทางด้านอาชีพหรือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตัวเอง เป็นลักษณะการจ่ายแบบ "การสังคมสงเคราะห์" ซึ่งระบบซะกาตนี้ เป็นระบบที่สามารถประกันสังคมได้อย่างแน่นอน
4. การถือศีลอด - ถือบวช การถือศีลอดหรือการถือบวช ภาษาอาหรับใช้คำว่า "อัศเซาม์" หรือ "อัศศิยาม" ความหมายเดิม หมายถึง การงดเว้น การระงับ การหักห้ามตัวเอง ในนิยามศาสนบัญญัติ หมายถึง "การงดเว้นสิ่งที่จะทำให้การถือศีลอด เป็นโมฆะตามศาสนบัญญัติ โดยเริ่มตั้งแต่เวลาแสงอรุณขึ้น จวบถึงตะวันตกดิน" การถือศีลอดที่บังคับให้กระทำนั้น มีเฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านั้น ส่วนในวาระอื่นๆ ไม่ได้บังคับ แต่ประการใด
ผลจากการถือศีลอด นำไปสู่คุณธรรมนานาประการ อาทิเช่น
1. แสดงให้ประจักษ์ชัดถึงความเสมอภาคทางสังคม ไม่ว่าบุคคลจะมีฐานะ ตำแหน่ง ยศฐาบรรดาศักดิ์ สูงต่ำอย่างไร ก็จะต้องถือศีลอดเหมือนกันหมด ไม่มีการแบ่งชนชั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการลดช่องว่างระหว่างชนชั้น โดยตรง 2. สามารถควบคุมจิตใจของตนเองได้ 3. มีความซื่อสัตย์สุจริต แม้จะหิวแสนหิว กระหายน้ำ สักปานใดก็ตาม ก็ไม่แอบไปรับประทานและดื่ม 4. มีความอดทนอดกลั้น เพราะขณะถือศีลอดนั้น ร่างกายมีความอ่อนเพลียมาก แต่ก็สามารถอดทน จนครบเวลาของมัน โดยไม่ย่อท้อ ไม่เหนื่อยหน่าย ไม่บ่น ไม่วิตก ไม่โมโห และไม่แสดงความอ่อนแอ 5. มีคุณธรรม มีความสำรวมตนเองและยำเกรงพระเจ้า ไม่ประพฤติผิด ในขณะถือบวช ตัวเองจะรู้สึกขยะแขยง รังเกียจการกระทำความชั่วสามานย์ทั้งปวง และจิตใจเบิกบานในการประกอบคุณธรรมความดี ผู้ถือศีลอดจึงชอบอ่านอัลกุรอาน ชอบทำละหมาด ชอบทำบุญทำทาน 6. มีจิตเมตตาสงสาร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น เพราะผู้ถือศีลอด รู้รสของความหิวกระหายว่า มีความทรมานขนาดไหน คนที่ยากจนกว่าเขา เมื่อหิวอย่างที่สุดแล้ว ได้เวลารับประทานอาหาร แทนที่จะมีอาหารอย่างดี บางคนก็มีอาหารพอประทังชีวิตเท่านั้นและเป็นอาหารที่ขาดคุณค่า เพราะความยากจน ส่วนตัวเขาเอง เมื่อถึงเวลารับประทาน แม้จะหิวสักปานใด ก็มีอาหารอย่างดีมากมายเต็มโต๊ะอาหาร ซึ่งความจริงแล้ว ในช่วงเวลาของความหิวกระหายนั้น ไม่ว่าจะยากดีมีจน ก็ตกอยู่ในสภาพทรมานเหมือนกันนั่นเอง 7. มีความสำนึกในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า และซาบซึ้งต่อพระองค์ยิ่งนัก เพราะสภาพทรมานจากความหิว เมื่อได้เวลารับประทาน เขาก็จะตระหนักถึงคุณค่าของอาหารว่ามีมากมายเหลือเกิน และอาหารที่ได้รับประทานนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงประทานมาให้ ส่วนในช่วงเวลาที่เขาไม่ได้ถือศีลอด เขาไม่เคยตระหนักถึงคุณค่าของอาหาร ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้แก่เขา เขากิน เขาดื่ม อย่างฟุ่มเฟือย เหลือทิ้งมากมาย เพราะเขามีอาหารล้นเหลือ จะกินเวลาใด ก็สามารถกินได้ตลอดเวลา 8. มีระเบียบวินัย และฝึกให้ตรงต่อเวลา เพราะการถือศีลอด มีเงื่อนไขให้ทุกคนปฏิบัติอยู่ในกรอบ แห่งความประพฤติอันดีงามมากมาย จะรับประทานก็ต้องตรงต่อเวลา จะพูดจาหรือจะเคลื่อนไหว ก็ต้องระมัดระวัง พลังกุศลแห่งการถือศีลอดจะบกพร่องไป คุณธรรมทั้งหลายอันได้มาจากการถือศีลอดนั้น ที่สุดก็รวมอยู่ในความยำเกรงพระเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมคุณธรรมทั้งปวง ดังนั้น อัลกุรอานจึงมีโองการไว้ในบทที่ 2 โองการที่ 183 ความว่า
"เหล่าผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้บัญญัติแก่สูเจ้า ประดุจเดียวกับที่ได้บัญญัติไว้แก่ประชาชนก่อนสูเจ้า ทั้งนี้เพื่อสูเจ้าจักได้ยำเกรง" คุณสมบัติของผู้ถือศีลอด ผู้ที่ศาสนาบังคับให้ถือศีลอด จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. เป็นมุสลิม 2. บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ 3. มีสติสัมปชัญญะ 4. มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่ป่วยไข้หรือชราภาพ 5. ไม่อยู่ระหว่างการเดินทาง
บุคคลผู้ได้รับการผ่อนผัน ไม่ต้องถือศีลอด บุคคลที่ศาสนาผ่อนผัน ไม่ต้องถือศีลอด มีดังต่อไปนี้ 1. ผู้ป่วยไข้ธรรมดา ให้ถือศีลอดชดเชย เมื่อหายจากป่วยเป็นปกติ 2. ผู้ป่วยไข้เรื้อรัง จนไม่มีโอกาสหาย ให้จ่ายอาหารหลักประจำวัน เช่น ข้าวสาร แก่คนยากจน วันละ 1 ทะนาน จนครบวัน 3. ผู้เดินทาง ให้ถือศีลอดชดเชย เมื่อหมดสภาพการเดินทาง 4. ผู้ชรา ให้จ่ายอาหารหลักประจำวัน วันละ1 ทะนาน แก่คนยากจน 5. หญิงมีครรภ์ ให้จ่ายอาหาร วันละ 1 ทะนาน แก่คนยากจนแทน พร้อมกับถือศีลอดชดเชย ในกรณีไม่ถือศีลอด เพราะกลัวจะเกิดอันตรายแก่ลูก และหากกลัวอันตรายจะเกิดแก่ตัวเอง ให้ชดเชยโดยไม่ต้องจ่ายอาหารแก่คนยากจน 6. หญิงแม่ลูกอ่อน ให้จ่ายอาหารแก่คนยากจน วันละ 1 ทะนาน พร้อมกับถือศีลอดชดเชย ในกรณีไม่ถือศีลอด เพราะกลัวจะเกิดอันตรายแก่บุตร และหากกลัวอันตรายจะเกิดแก่ตัวเอง ให้ชดเชย โดยไม่ต้องจ่ายอาหาร
ข้องดเว้นของผู้ถือศีลอด 1. การรับประทานอาหาร การดื่ม 2. การนำสิ่งภายนอกเข้าสู่อวัยวะภายในร่างกายทางช่องทางที่เปิดเผย 3. การแสดงกิจกรรมทางเพศ 4. การอาเจียนโดยตั้งใจ
ข้อปฏิบัติของผู้ถือศีลอด 1. รักษาข้องดเว้นต่างๆ อย่างเคร่งครัด หากผิดข้อใด ถือว่าศีลอดวันนั้นเป็นโมฆะ 2. ปฏิบัติศาสนกิจและการกุศลให้มาก เช่น ละหมาด อิอฺติก๊าฟ อ่านอัลกุรอาน 3. ให้สำรวมตน สำรวมใจ และ สำรวมวาจา อยู่ตลอดเวลา
5. การบำเพ็ญฮัจญ์ การบำเพ็ญฮัจญ์หรือประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นศาสนกิจประการสุดท้ายในหลักปฏิบัติพื้นฐาน เป็นศาสนกิจที่สรุปไว้ ซึ่งอุดมการณ์ทางสังคม อย่างครบบริบูรณ์ การที่มุสลิมจากทั่วมุมโลก เดินทางจากที่อยู่อาศัยของตนเอง ไปสู่พิธีฮัจญ์ เป็นประจำติดต่อกันมาถึง 1,400 กว่าปี นับเป็นกิจกรรมที่มีความมหัศจรรย์และมีพลังอันแกร่งกล้าทางศรัทธายิ่งนัก สำนึกของผู้เดินทางไปสู่พิธีฮัจญ์ เป็นสำนึกเดียวกัน จากจิตวิญญาณที่ผนึกกันเป็นดวงเดียวกัน แม้จะมาจากถิ่นฐานอันแตกต่างกัน มีภาษาผิดแผกกัน มีสีผิวไม่เหมือนกัน มีฐานะต่างกัน มีตำแหน่งทางสังคมไม่เท่ากัน แต่เมื่อทุกคนเดินทางมาสู่ศาสนกิจข้อนี้ สิ่งเหล่านั้นถูกทิ้งไปโดยสิ้นเชิง ทุกคนซึ่งมีอำนาจมหาศาล แต่ก็ร่วมกิจกรรมเดียวกัน โดยไม่รังเกียจเดียจฉันท์ ไม่มีความโกรธ เกลียดซึ่งกันและกัน คนเป็นจำนวนล้าน ไปรวมกันอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่ไม่มีเรื่องขัดแย้งกัน ทุกคนมีใบหน้าอันยิ้มแย้ม ทักทายซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันอย่างไม่ถือเขาถือเรา ผิดพลาดล่วงเกินกันบ้าง ก็พร้อมที่จะให้อภัยแก่กันและกัน ไม่มีใครปลุกเอาเงื่อนไขอันแตกต่างกัน มาเป็นปัจจัยที่จะสร้างความรู้สึกและเน้นให้เห็นความแตกต่างนั้น จนกลายเป็นกรณีแบ่งแยกระหว่างกลุ่ม และแท้จริงนั้นความแตกต่างดังกล่าว ไม่มีใครสนใจเลยแม้แต่น้อย ทุกคนมีดวงใจที่ยอมสยบต่อพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง ยอมจำนนต่อพระองค์โดยไม่มีเงื่อนไข การปฏิบัติทุกประการ เป็นไปตามบทบัญญัติอันประกาศิตของพระองค์ ถึงแม้การปฏิบัตินั้นในสายตาของมนุษย์ทั่วไป จะมองไม่เห็นเหตุผล แต่สำหรับมุสลิมแล้ว การปฏิบัตินั้นมีความหมายสำหรับชีวิตมาก ทุกคนไม่ถือเอาเหตุผลเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติ เป้าหมายก็คือ การปฏิบัติตามบทบัญญัติของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) เป็นการแสดงความเคารพและการนมัสการต่อพระองค์ ด้วยสุจริตใจ จริงใจ และบริสุทธิ์ใจ มุสลิมมิได้กราบไหว้เหตุผล แต่มุสลิมกราบไหว้พระผู้เป็นเจ้า มุสลิมทุกคนมีความสุขที่ได้กราบไหว้และปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า มาตรแม้นการปฏิบัตินั้น จะเหนื่อย จะสิ้นเปลือง หรือมองดูไม่มีประโยชน์หรือไร้เหตุผล ในสายตาของคนทั่วไปที่มิใช่มุสลิม แต่เหตุผลอันเป็นสัจธรรม ก็เป็นสิ่งต่างคนต่างคิดกันเองตามพื้นฐานปัญญาอันแตกต่างกันไป การได้ปฏิบัติตามพระบัญชานั้นแหละ คือ เหตุผลในการกระทำของมุสลิมทุกคน เมื่อทุกคนได้ทำการเดินเวียนอยู่กะอฺบะฮฺ คลื่นมนุษย์จำนวนนับล้านที่เคลื่อนไหวอยู่รอบกะอฺบะฮฺนั้น เป็นประหนึ่งสัญญาณแสดงให้เห็นว่า มุสลิมทุกคนที่นมัสการต่อพระผู้เป็นเจ้า จะต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอ จะหยุดอยู่กับที่ จะทำตัวเป็นคนไร้พลังไม่ได้ การเดินรอบกะอฺบะฮฺ มิใช่การทำนมัสการต่อวัตถุนั้น กะอฺบะฮฺเป็นวัตถุอาคารสี่เหลี่ยมสีดำทมึน ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ใจกลางแห่งพื้นลานซึ่งรายรอบด้วยมัสญิดอัลหารอม ถูกสร้างขึ้นไว้นับเป็นจำนวนพันๆ ปี ตลอดเวลาจะมีผู้คนมาเดินเวียน ไม่เคยขาด สิ่งนี้มิใช่พระเจ้า เป็นเพียงอาคารที่จะทำให้ระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น เป็นจุดศูนย์รวมดวงใจของมุสลิมทั่วโลก เมื่อผู้ใดมาถึง ก็จะมีความรู้สึกประหวัดไปถึงบรรพบุรุษทางศรัทธาของมุสลิม อันมีจำนวนมหาศาล ทำให้ทุกคนตระหนักว่า ตัวเขาหาได้เดียวดายไม่ ยังมีเพื่อนและพี่น้องทางศรัทธาอีกมากมายนัก เมื่อมุสลิมได้เข้าไปจูบหินดำที่ประดิษฐานอยู่ ณ มุมหนึ่งของกะอฺบะฮฺ หินดำนี้ก็มิใช่พระเจ้า และการจูบหินดำ ก็หาใช่การกราบไม่ แท้จริงแล้วเป็นการประทับร่องรอยแห่งทายาททางศรัทธาที่รวมกันอยู่ ณ วัตถุชิ้นเล็กๆ นี้ มุสลิมจำนวนมหาศาลในปัจจุบัน ได้มาจูบหินนี้ เช่นเดียวกับบรรพบุรุษทางศรัทธาที่ล่วงลับไปแล้วจำนวนไม่น้อย เป็นประจักษ์พยานว่า มุสลิมทุกคนจะต้องรู้จักกัน จะสัมพันธ์กันอย่างสนิทแน่นแฟ้น จนไม่มีอะไรมาพรากจากกันได้ รอยจูบที่ทุกคนมาประทับไว้ ณ หินดำชิ้นเล็กๆ นี้ จึงมีความหมายยิ่งใหญ่ สำหรับมุสลิมทุกคน การชุมนุมกัน ณ ทุ่งอารอฟะฮฺก็ดี การเดินทางออกจากนั้น แปรมาสู่มุซดะลิฟะฮฺ พักเก็บลูกหิน มาถึงทุ่งมินา และใช้ลูกหินที่เตรียมไว้นั้น ขว้างเสาหินสามต้นก็ดี การกระทำเหล่านี้ เป็นรหัสอันยิ่งใหญ่สำหรับมุสลิมทุกคน ที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ต่อบรรพบุรุษทางศรัทธา ต่อพี่น้องร่วมศรัทธาในปัจจุบัน และต่อมนุษยชาติทั้งปวง คุณสมบัติของผู้บำเพ็ญฮัจญ์ 1. เป็นมุสลิม 2. บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ 3. มีสติสัมปชัญญะ 4. มีสุขภาพดี 5. เส้นทางระหว่างเดินทางปลอดภัย 6. มีทุนเพียงพอในการเดินทาง การใช้จ่ายระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์ และค่าใช้จ่ายของครอบครัวทางบ้าน สำหรับผู้หญิง ถ้าจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ไม่อนุญาตให้เดินทางไปคนเดียว นอกจากต้องมีผู้ปกครอง สามี หรือ ญาติใกล้ชิดที่แต่งงานกันไม่ได้ เดินทางร่วมไปด้วย






นบีและรสูล





ประวัติศาสตร์แห่งความศรัทธาที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ตั้งแต่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างให้มนุษย์เป็นตัวแทนมาบูรณะโลกนี้ โดยมีกฎเกณฑ์ตามความประสงค์ของพระองค์ มีผู้นำที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติ คือ บรรดานะบีและร่อซูลที่มาจากอัลลอฮฺ ทำหน้าที่แนะนำประชาคมโลกไปสู่เส้นทางอันเที่ยงธรรมของอัลลอฮฺ
การที่แนะนำให้พี่น้องศึกษาประวัติศาสตร์เพราะมีความประสงค์ที่จะเพิ่มเติมอีมาน ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องพูดคุยเพื่อสร้างความสนุก แต่เพราะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม อันเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ตามหลักศาสนา ไม่ใช่ศึกษาตามหลักสูตรประวัติศาสตร์สากล
ในการยืนยันข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลามต้องมีความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่ในบรรดานะบีและร่อซูล คือ ท่านนะบีมุฮัมมัด จะอ้างถึงหลักฐานที่นักประวัติศาสตร์อิสลามใช้ มีการรับรองจากนักสำรวจข้อมูล ซึ่งมีหลักสูตรด้านการสืบข้อมูลนักรายงานประวัติศาสตร์ทุกยุคทุกสมัย รับข้อมูลปากต่อปากจนถึงผู้รายงานคนสุดท้าย โดยไม่อนุญาตให้มีตอนหนึ่งตอนใดตกไปหรือไม่รู้ว่ามาจากใคร หากมีความสงสัยต้องถูกยกเลิก จะไม่นำมาใช้ บางรายงานอาจมีข้อตำหนิหรือข้อสงสัยนิดหน่อย ก็ต้องพิจารณาจากเนื้อหาของตัวบทว่าเกี่ยวกับบทบัญญัติเรื่องหะลาลหะรอมหรือไม่ ถ้าเกี่ยวก็ไม่เอา ต้องเอาที่เข้มแข็ง (ศอฮี้ฮฺ) แต่หากไม่เกี่ยวกับหุก่มหะลาลหะรอม นักประวัติศาสตร์ก็อาจบันทึกลงไป
สำหรับข้อมูลที่นำมาศึกษานั้น อุละมาอฺได้กลั่นกรองไว้เพื่อให้เรานำไปเล่ากับลูกหลานด้วยความมั่นใจว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่นิยายหรือข่าวที่เล่ากันมาหรือเพียงเรื่องเล่าเพื่อความสนุกเท่านั้น แต่เป็นข้อเท็จจริง และดังที่กล่าวไปแล้วว่าประวัติศาสตร์ที่เราศึกษาต้องมีผลดีในชีวิต โดยการเก็บบทเรียนมาปฏิบัติด้วย
บรรดานะบีและร่อซูลที่มีระบุในอัล-กุรอานประมาณ 25 ท่าน และที่มีอยู่ในซุนนะฮฺ บางท่านก็ทราบชื่อ แต่บางท่านก็ไม่ทราบ ประวัติศาสตร์ของบรรดานะบีและร่อซูลมีมากมาย แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องศรัทธาต่อบรรดานะบีและร่อซูลทั้งหมด ส่วนรายละเอียดต้องใช้เวลานานพอสมควร จึงต้องสรุปและนำบรรดานะบีและร่อซูลที่มีความสำคัญมากล่าวถึงก่อน โดยเฉพาะท่านนะบีอาดัม ท่านนะบีนูหฺ ท่านนะบีอิบรอฮีม ท่านนะบีมูซา ท่านนะบีอีซา อะลัยกุมุสสลาม
ประวัติศาสตร์อาหรับก่อนยุคท่านนะบีมุฮัมมัด มาเผยแผ่เป็นประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษา เพื่อให้เราเปรียบเทียบระหว่างยุคก่อนที่จะมีแสงสว่างจากอิสลามกับยุคที่มีอิสลามแล้ว ในยุคปัจจุบันก็มีลักษณะบางประการเหมือนยุคญาฮิลียะฮฺ การศึกษาเรื่องนี้จะทำให้รู้คุณค่าของศาสนาอิสลาม ได้รู้ว่าความมืดแห่งยุคญาฮิลียะฮฺเป็นอย่างไร และเมื่อมีแสงสว่างแห่งอีมานที่มาจากอัลลอฮฺโดยผ่านการเทศนาของท่านนะบีมุฮัมมัด ทำให้รู้ว่าคุณค่าของอิสลามยิ่งใหญ่เพียงใด
ท่านอุมัร อิบนุ อัลค็อฏฏ็อบ กล่าวว่า เกรงว่าจะมีผู้ที่ไม่เคยรู้จักญาฮิลียะฮฺ คือเกิดมาสู่อิสลามโดยไม่เคยเห็นว่าญาฮิลียะฮฺเป็นอย่างไร ทำให้ยุคนั้นไม่รู้คุณค่าของอิสลาม ถ้าลองสังเกตคนที่เข้ารับอิสลามใหม่ ก่อนหน้านั้นเขาอยู่ในชิริกและความมืดของญาฮิลียะฮฺ เมื่อเข้ารับอิสลามแล้วเขาจะเคร่งกว่ามุสลิมแต่กำเนิด ยิ่งกว่านั้น คนที่เคยเกเร ไม่เอาหลักการ เมื่อเตาบะฮฺแล้วเคร่ง เพราะรู้ว่าสิ่งเลวสิ่งดีเป็นยังไง รู้ว่าคุณค่าของความดีมีมากแค่ไหน แต่ไม่ใช่ให้คนที่ไม่เคยเกเรไปเกเรเพื่อให้รู้คุณค่าของความดี ให้ศึกษาว่าเขาอยู่ในความมืดอย่างไร และอิสลามมาสร้างความสว่างในชีวิตของเขาอย่างไร อย่างเช่นคนที่ยังไม่เชื่อว่าบุหรี่อันตราย มันเหมือนคนที่มาจูงเราไปกุบูร ต้องไปอ่านตำราศึกษาประวัติคนที่ประสบความหายนะเพราะบุหรี่ หรือไปโรงพยาบาล





.......วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม









วันที่ 1 (วันขึ้น 1 ค่ำ) เดือนเซาวาล (เดือนที่ 10) ..วันอีด ซึ่งมี 2 วาระคือ อีดิ้ลฟิตริ และอีดิ้ลอัฎฮา
............วันอีดิ้ลฟิรตริ อัลฟิตริ แปลว่า สภาพเดิม เมื่อนำเอาคำว่า “อีด” มาประสม (สนธิ) กับ “อัลฟริตรฺ” จึงได้เป็นอีดิ้ลฟิตรฺ มีความหมายว่าวันรื่นเริงเนื่องในการครบรอบเข้าสู่สภาพเดิมหรือเทศกาลของการเข้าสู่สภาพเดิม คือสภาพที่ไม่ต้องอดอาหาร............ในระหว่างเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ของศักราชอิสลาม) มุสลิมจะถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน (ดั่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น) ซึ่งบางคนเรียกว่า ถือบวช ฉะนั้นวันอีดืลฟิตริคือวันรื่นเริงที่กลับสู่สภาพเดิมคือไม่ต้องถือบวช จึงนิยมเรียกวันนี้ว่า “วันออกบวช” หรือ “วันอีดเล็ก”
............วันอีดิ้ลอัฎฮา อัฎฮา แปลว่า การเชือดสัตว์พลี เพื่อเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน เมื่อนำมารวมกับคำว่า “อีด” จึงเป็น “อีดิ้ลอัฎฮา” ซึ่งหมายถึงวันรื่นเริงเนื่องในการเชือดสัตว์พลีเป็นอาหารแก่ประชาชนและคนยากจน ตรงกับวันที่ 10 ของเดือน ซุ้ลฮิจญะ อันเป็นเวลาเดียวกันกับการประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮฺของมุสลิมทั่วโลก ดังนั้น ชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกว่า “วันออกฮัจญี” หรือวัน “อีดใหญ่”

...............วันที่ 1 ของเดือนที่ 10 ถึงวันที่ 10 ของเดือน 12 จะเริ่มวันใดก็ได้ระหว่างเทศกาล การประกอบพิธีทำฮัจจ์นี้ ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุดมุสลิมจากทั่วโลกจะไปชุมนุมทำพิธีกันในโอกาสนี้มากที่สุด การเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์นอกเทศกาลนี้ ก็อาจจะกระทำได้ แต่เรียกว่า "อุมเราะห์" แปลว่า หัจญ์เล็ก.............การทำฮัจจ์ คือการเดินทางไป ปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะห์ ตามวันเวลา และสถานที่ต่างๆที่ทางศาสนา กำหนดไว้

........... วันที่ 8 เดือน 12(ชุลฮิจยะฮ์) ของปฏิทินอาหรับ เป็นวันที่อาจเริ่มพิธีหัจญ์ มุสลิมทุกคนอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดแล้วแต่งกายด้วย ชุดเอียะฮ์ รามหรืออิห์รอมซึ่งประกอบด้วยผ้าใหม่สีขาวสะอาด 2 ผืน ผืนหนึ่งใช้นุ่งอีกผืนหนึ่งใช้ห่ม สำหรับหญิงต้องแต่งกาย มิดชิดแล้ว นมัสการพระเจ้า ตั้งจิตอธิษฐาน(นียะห์) ว่าจะประกอบ พิธีหัจญ์ และครองเอียฮ์รามถวายแด่อัลเลาะห์เจ้า เวลาหลังเที่ยง แล้วออกเดินทางไปยังทุ่งอาระฟะฮ์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเมกกะ 20 กิโลเมตร มุสลิมที่เดินทางมาแสวงบุญทั้งหมดจะพักรวมกันอยู่ ณ ที่นี้ ตั้งแต่บ่ายวันที่ 9 ถึงเช้าตรู่วันที่ 11
วันที่ 11 หลังละหมาดเวลาค่ำ (มัฆริบ) แล้วทุกคนเดินทางย้อนกลับมาพักแรมที่ทุ่งกว้างนอกมัสยิดชื่อ "มุชตะลิฟะต์" ซึ่งอยู่ห่างจากนครเมกกะ 7 กิโลเมตร ที่ มุชตะลิฟะต์ ผู้แสวงบุญทุกคนจะต้องเก็บก้อนหินขนาดย่อมกว่าหัวแม่มือเล็กน้อยไว้จำนวน 70 ก้อน





เดือนต่างๆ ในอิสลามและความสำคัญ











أَنَّ عِدَّةَالشُّهُوْرِعِنْدَاللهِ اثْنَاعَشَرَشَهْرًافِىكِتَابِ اللهِ يَوْمَ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَاْلأَرْضِ مِنْهَاأَرْبَعَةٌحُرُمٌ ذَالِكَ الدِّيْنُ الْقَيِّمُ فَلاَ تَظْلِمُوْافِيْهِنَّ أَنْفُسَكُمْ......الآية
ความว่า “แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮ์นั้นมี 12 เดือน โดยระบุไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ ในวันที่พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ซึ่งจากจำนวนนั้นมีสี่เดือนที่ต้องห้าม (ทำสงคราม) (คือซุ้ลเกาะดะห์ , ซุ้ลฮิจญะห์ , มุฮัรรอม และ ร่อญับ ) นั่นคือ ศาสนาอันมั่นคง ดังนั้นเจ้าทั้งหลายอย่าอธรรมในเดือนเหล่านั้นต่อตัวของพวกเจ้าเอง ”( อัตเตาบะห์ : 36)
เดือนต่างๆในรอบปีและความประเสริฐในการประกอบอิบาดะห์ที่เป็นความดีงามในวันและเดือนต่างๆ ซึ่งจะขอกล่าวพอสังเขปดังต่อไปนี้
1. เดือนมุฮัรรอม
วันสำคัญของเดือนนี้คือ
-วันที่ 1 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของอัลอิสลามและเป็นวันคล้ายวันอพยพของท่านศาสดามูฮัมหมัด ศ็อลฯ
วันที่ 10 ซึ่งเป็นวันอาชูรออ์

สิ่งที่ควรปฏิบัติในเดือนนี้

- ควรที่จะถือศีลอดสุนัตให้มาก ดังที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ได้ทรงกล่าวว่า

﴿ وَأَفْضَلُ الصِّياَمِ بَعْدَ شَهْرِ رَمَضَانَ صِياَمُ شَهْرِ اللهِ الْمُحَرَّم ﴾ رَوَاهُ مُسْلِمٌ

ความว่า “ และความประเสริฐของการถือศีลอดรองจากเดือนร่อมาฎอนคือ การถือศีล
อดในเดือนแห่งอัลลอฮ์ อัลมุฮัรรอม ” รายงานโดยมุสลิม

- เล่าประวัติศาสตร์หรือระลึกถึงการอพยพของท่านศาสดา ศ็อลฯ ให้บุตรหลานหรือสมาชิกของครอบครัวฟัง

- สุนัตให้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ คือวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอมซึ่งถือเป็นแบบฉบับของท่านศาสดา ศ็อลฯ ดังมีอัลฮะดีษกล่าวว่า

﴿ عَنْ جَابِرِ بْنِ سَمُرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ كَانَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَََََََّمَ يَأْمُرُناَ بِصِيَامِ يَوْمِ عَاشُوْرَاءَ وَيَحُثُّناَ عَلَيْهِ ﴾ رَوَاهُ مُسْلِمٌ

ความว่า เล่าจากญาบิรบุตรซะมุเราะห์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮ์ กล่าวว่า “ ท่านศาสดา ศ็อลฯ ได้ใช้และส่งเสริมให้พวกเราถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ” รายงานโดยมุสลิม

﴿ وَسُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَاشُوْرَاءَ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ المْاَضِيَة َ﴾ رَوَاهُ مُسْلِمٌ

ความว่า “ และท่านศาสดาได้ถูกถามถึงการศีลอดในวันอาชูรออ์ ท่านกล่าวว่า มันจะลบล้างความผิดหนึ่งปีที่ผ่านมา ” รายงานโดยมุสลิม

และท่านร่อซู้ล ศ็อลฯได้ใช้ให้เราถือศีลอดในวันที่ 9 ของเดือนมุฮัรรอม ดังตัวบทของอัลฮะดีษที่ว่า

وَرُوِيَ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ أَنَّهُ قَالَ صُوْمُوْا التَّاسِعَ وَالْعَاشِرَ وَخَالِفُوْا الْيَهُوْدَ رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ وَقَالَ وَبِهذَا الْحَدِيْثِ يَقُوْلُ الشَّافِعِيُّ وَأَحْمَدُ وَإِسْحَاقُ

ความว่า และได้มีรายงานมาจากอิบนิอับบาส เขาได้กล่าวว่า “ พวกท่านจงถือศีลอดในวันที่ 9 และวันที่ 10 (ของเดือนมุฮัรรอม) และจงปฏิบัติให้แตกต่างกับชาวยิว ” รายงานโดยอัตติรมีซีย์ และเขาได้กล่าวว่า ท่านอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ อะห์มัด และอิสฮาก ได้กล่าวอัลฮะดีษนี้

- เล่าและระลึกถึงประวัติศาสตร์ของท่านศาสดานูห์ อะลัยฮิสสลาม ที่พ้นจากภัยน้ำท่วมโลกและศาสดา มูซาอะลัยฮิสสลาม ที่พ้นจากการไล่ล่าของกองทัพฟิรอูนให้บุตรหลานหรือสมาชิกของครอบครัวฟัง
2. เดือนซอฟัร
3. เดือนร่อบีอุ้ลเอาวั้ล

วันสำคัญของเดือนนี้
- วันที่ 12 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของท่านศาสดา ศ็อลฯ

สิ่งที่ควรปฏิบัติในเดือนนี้
- ควรระลึกถึงวันคล้ายวันประสูติของท่านศาสดา ศ็อลฯ ด้วยการเล่าประวัติศาสตร์ของท่านตั้งแต่เริ่มประสูติจนกระทั่งถึงแก่กรรมให้บุตรหลานฟัง ไม่ว่าจากอัลกุรอานหรืออัลฮะดีษหรือจากหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วๆ ไป

- กล่าวสดุดี(ซ่อละหวาต)ต่อท่านนบี ศ็อลฯ
4. เดือนร่อบีอุซซานีย์
5. เดือนญะมาดิ้ลอูลา
6. เดือนญะมาดิซซานีย์
7. เดือนร่อญับ


วันสำคัญของเดือนนี้
- วันที่ 27 ซึ่งเป็นวันที่ท่านศาสดา ศ็อลฯ เสด็จขึ้นชั้นฟ้า ( อัลอิสรออ์วั้ลเมี๊ยะรอจ ) ดังโองการอัลกุรอานที่ว่า
سُبْحَانَ الَّذِي أَسْرَى بِعَبْدِهِ لَيْلاًمِنَ الْمَسْجِدِالْحَرَامِ اِلَى الْمَسْجِدِاْلأَقْصَاالَّذِىْبَارَكْنَا حَوْلَهُ لِنُرِيَهُ مِنْ ءَايَاتِنَا اِنَّهُ هُوَالسَّمِيْعُ الْبَصِيْرُ





ความว่า “ มหาบริสุทธิ์ผู้ทรงนำบ่าวของพระองค์ (มุฮำมัด) ให้เดินทางในยามค่ำคืน จากมัสยิดอั้ลฮะรอมสู่มัสยิดอัลอักซอ ซึ่งเราได้ให้ความศิริมงคล แก่รอบๆ ของมัน ทั้งนี้ เพื่อเราจะทำให้เขามองเห็นบางส่วนแห่งสัญลักษณ์ของเรา แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ที่ได้ยิน อีกทั้งทรงมองเห็นยิ่ง ” (อัลอิสรออ์ : 1 )

สิ่งที่ควรปฏิบัติในเดือนนี้

- ระลึกถึงค่ำคืน อัลอิสรออ์วั้ลเมี๊ยะรอจ โดยการเล่าประวัติศาสตร์ของคืนดังกล่าวให้บุตรหลานได้รับทราบ
8. เดือนชะอ์บาน

วันสำคัญของเดือนนี้

- คืนนิสฟูชะอ์บาน

- การเปลี่ยนกิบลัต ( ที่เกิดขึ้นในเดือนนี้ )

สิ่งที่ควรปฏิบัติ (ตามทัศนะของนักวิชาการที่ส่งเสริม)

- สุนัตให้ถือศิลอด ดังตัวบทฮะดีษที่ว่า

عَنْ أُسَامَةَ بْنِ زَيْدٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ قُلْتُ يَا رَسُوْلَ اللهِ لمَ ْأَرَكَ تَصُوْمُ شَهْرًا مِنَ الشُّهُوْرِ مَا تَصُوْمُ مِنْ شَعْبَانَ قَالَ ذلِكَ شَهْرٌ يَغْفُلُ النَّاسُ عَنْهُ بَيْنَ رَجَبٍ وَرَمَضَانَ وَهُوَ شَهْرٌ تُرْفَعُ فِيْهِ اْلأَعْمَالُ إِلَى رَبِّ الْعَالَمِيْنَ فَأُحِبُّ أَنْ يُرْفَعَ عَمَلِيْ وَأَناَ صَائِمٌ رَوَاهُ النَّسَائِيُّ

ความว่า เล่าจากจากอุซามะห์บุตรเซด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า “ ฉันได้กล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ฉันไม่เคยเห็นท่านถือศีลอดในเดือนใดจากเดือนทั้งหลายเสมือนกับที่ท่านถือศีลอด ในเดือนชะอ์บาน ท่านได้กล่าวว่า ดังกล่าวคือเดือนที่มวลมนุษย์กำลังหลงลืม ซึ่งเป็นเดือนที่อยู่ระหว่างเดือนร่อญับและเดือนร่อมะฎอนและมันคือเดือนที่บรรดาการปฏิบัติต่างๆ จะถูกนำเสนอต่อพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก และฉันชอบที่จะให้การกระทำของฉัน ถูกนำเสนอ ( ต่อพระองค์ )ในสภาพที่ฉันถือศีลอด ” บันทึกโดยอันนะซาอีย์

- ให้อ่านอัลกุรอาน ซิกรุลลอฮ์ ขออภัยโทษ ดุอาอ์ และอื่นๆ ที่เป็นการภักดีต่ออัลลอฮ์ ซุบฮ์ฯ ดังมี อัลฮะดีษกล่าวว่า

عَنْ مُعَاذِ بْنِ جَبَلٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِىِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ يَطَّلِعُ اللهُ اِلَى جَمِيْعِ خَلْقِهِ لَيْلَةَ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ فَيَغْفِرُ لِجَمِيْعِ خَلْقِهِ إِلاَّ لِمُشْرِكٍ أَوْ مُشَاحِنٍ رَوَاهُ الطَّبْرَانِيُّ فِى الْكَبِيْرِ وَاْلأَوْسَطِ وَرِجَالُهُمَا ثِقَاتٌ

ความว่า เล่าจากมุอาซบุตรญะบัล ร่อฎิยัลลอฮุอันฮ์ จากท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า “ อัลลอฮ์ ซุบฮ์ฯ จะมองมายังบ่าวของพระองค์ทั้งหมดในค่ำคืนนิสฟุชะอ์บาน ต่อมาพระองค์ก็ทรงอภัยโทษแด่พวกเขาทั้งหลาย ยกเว้นผู้ที่ตั้งภาคีต่อพระองค์หรือผู้ที่อิจฉาริษยา ” บันทึกโดย อัตต๊อบ รอนีในมั๊วะญัมอัลกาบีรและอัลเอาซัต และผู้รายงานของทั้งสองเป็นที่เชื่อถือได้
9. เดือนร่อมาฎอน

วันสำคัญของเดือนนี้และความประเสริฐ

- คืนลัยละตุ้ลก็อดร์ ซึ่งมีความประเสริฐกว่าเดือนอื่นๆ ถึงหนึ่งพันเดือน ดังอัลกุรอานกล่าวไว้ในซูเราะห์อัลก๊อดร์ อายะห์ที่ 3
ความว่า “ คืนลัยละตุ้ลก็อดร์นั้น ประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน ”

สิ่งที่ต้องปฏิบัติในเดือนนี้

- ถือศีลอดในเดือนร่อมาฎอนโดยการยับยั้งกาย วาจา ใจ อาหาร และเครื่องดื่ม ตลอดจนสิ่งที่ศาสนาห้าม
- ละหมาดตะรอเวี๊ยะห์และวิตริในค่ำคืนร่อมาฎอน
- อ่านอัลกุรอาน,ซิกรุลลอฮ์ และขอดุอาอ์ให้มากๆ
- บริจาคทานต่อคนยากไร้หรือคนขัดสน
- เอี๊ยะติก๊าฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิบคืนสุดท้ายของเดือนร่อมาฎอน
- ทำความดีให้มากๆตลอดเดือนร่อมาฎอน
- ให้รับประทานอาหารซะฮูร
- จ่ายซะกาตฟิตเราะห์ ดังมีฮะดีษที่ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

عَنْ أَبِىْ هُرَيْرَةَ قَالَ قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : مَنْ صَامَ رَمَضَانَ وَقَامَهُ إِيْمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَنْ قَامَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ إِيْمَاناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِه ِرَوَاهُ التِّرْمِذِىُّ وَقاَلَ حَدِيْثٌ صَحِيْحٌ

ความว่า เล่าจากอบีฮุร็อยเราะห์ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ กล่าวว่า “ บุคคลใดถือศีลอดและดำรงอยู่กับการประกอบอิบาดะห์ในเดือนร่อมาฎอนด้วยความศรัทธามั่นและแสวงหาผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมา และบุคคลใดดำรงอยู่กับการประกอบอิบาดะห์ในคืนลัยละตุ้ล ก็อดร์ด้วยศรัทธาและแสวงหาผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมา ” รายงานโดย อัตติรมีซีย์ และเขาได้กล่าวว่า ฮะดีษซอเฮี๊ยะห์

عَنْ أَبِىْ هُرَيْرَةَ وَ عُرْوَةَ عَنْ عَائِشَةَ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَعْتَكِفُ الْعَشْرَ اْلأَوَاخِرَ مِنْ رَمَضَانَ حَتَّى قَبَضَهُ اللهُ رَوَا هُ التِّرْمِذِيُّ وَقَالَ حَدِيْثٌ حَسَنٌ صَحِيْحٌ

ความว่า เล่าจากอบีฮุร็อยเราะห์และอุรวะห์จากท่านหญิงอาอิชะห์ว่า “ แท้จริงท่านนบี ศ็อลฯ ได้ทำการเอี๊ยะติกาฟเป็นประจำในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนร่อมาฎอนจนกระทั่งอัลลอฮ์ทรงเก็บชีวิตของพระองค์ ” รายงานโดยอัตติรมีซีย์ และเขากล่าวว่า ฮาดีษฮาซันซอเฮี๊ยะห์

عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قاَلَ تَسَحَّرُوْا فَإِنَّ فِي السَّحُوْرِ بَرَكَةً رَوَاهُ مُسْلِمٌ

ความว่า เล่าจากอะนัสบุตรมาลิกว่า ท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า “ ท่านทั้งหลายจงรับประทานอาหารซะฮูรเถิด เพราะว่าในอาหารซะฮูรนั้นมีศิริมงคล ” บันทึกโดย มุสลิม
10. เดือนเชาว้าล

ความสำคัญของเดือนนี้

- วันที่ 1 เชาว้าล เป็นวันตรุษอีดิลฟิตริ์

สิ่งที่ควรปฏิบัติในเดือนนี้

- ร่วมกันละหมาดอีดและทำการตักบีร สดุดีต่ออัลลอฮ์ ซุบฮ์ฯ
- สังสรรค์พบปะญาติพี่น้อง อภัยซึ่งกันและกัน
- ถือศิลอด 6 วันในเดือนเชาว้าล ดังมีอัลฮะดีษกล่าวว่า
عَنْ أَبِيْ أَيُّوْبَ اْلأَنْصَارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّهُ حَدَّثَهُ أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ رَوَاهُ مُسْلِمٌ
ความว่า เล่าจากอบีอัยยูบ อัลอันซอรี่ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ กล่าวว่า “ บุคคลใดที่ถือศีลอดเดือนร่อมาฎอน ต่อมาเขาก็ติดตามการถือศีลอด 6 วันของเดือนเชาว้าล เสมือนกับเขาได้ทำการถือศีลอดตลอดปี ” รายงานโดยมุสลิม
11. เดือนซุ้ลเกาะอ์ดะห์
12. เดือนซุ้ลฮิจญะห์

วันสำคัญของเดือนนี้

- เป็นเดือนแห่งการประกอบพิธีฮัจย์
- วันที่ 9 คือวันอะร่อฟะห์
- วันที่ 10 คือวันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา
- วันที่ 29 หรือ 30 เป็นวันสิ้นปีศักราชอิสลาม



สิ่งที่ควรปฏิบัติในเดือนนี้

- ไปประกอบพิธีฮัจย์สำหรับผู้ที่มีความสามารถ
- สำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์นั้น สุนัตให้ถือศีลอดในวันอะร่อฟะห์ ดังมีอัลฮะดีษกล่าวว่า

عَنْ أَبِيْ قَتاَدَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ سُئِلَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَرَفَةَ قاَلَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ الْمَاضِيَةَ وَالْبَاقِيَةَ رَوَاهُ مُسْلِمٌ

ความว่า เล่าจากอบีก่อตาดะห์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮ์ กล่าวว่า “ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ ถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอะร่อฟะห์ท่านตอบว่า ความผิดของท่านจะถูกลบล้างในหนึ่งปีที่ผ่านมา และอีกหนึ่งปีถัดไป ” รายงานโดยมุสลิม

- ร่วมกันละหมาดอีดิลอัฎฮา
- เชือดสัตว์กุรบ่าน และแจกจ่ายให้แก่ผู้ยากไร้
- สำนึกตัว(เตาบัต)ในความผิดที่ผ่านมา
- ออกซะกาตเมื่อครบพิกัดและครบรอบปี

อนึ่ง ในบางเดือนที่กล่าวมา อาจจะไม่มีวันสำคัญกล่าวไว้ เป็นการเฉพาะ แต่พึงทราบเถิดว่า ในเดือนต่างๆเหล่านั้น ยังมีวันที่สำคัญอยู่เช่นเดียวกัน นั่นก็คือวันศุกร์ ซึ่งเป็นนายของวันในรอบสัปดาห์ และในวันศุกร์นั้น มีช่วงเวลาหนึ่งที่อัลลอฮ์จะทรงตอบรับดุอาอ์ของบ่าวที่ศรัทธา และเช่นเดียวกัน ศาสนายังส่งเสริมให้มีการถือศีลอด 3 วัน ของทุกๆเดือน และยังใช้ให้ทำการถือศีลอดวันจันทร์และวันพฤหัสอีกด้วย ดังมีอัลฮะดีษ ของท่านศาสดา ศ็อลฯ ว่า

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ قَالَ عَهِدَ إِلَيَّ رَسْوُلُ اللهِ صَلَّىاللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثَلاَثَةً أَنْ لاَ أَناَمَ إِلاَّ عَلَىوِتْرٍ وَصَوْمَ ثَلاَثَةِ أَيَّامٍ وَأَنْ أُصَلِّيَ الضُّحَى رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ

ความว่า จากอบีฮุร็อยเราะห์กล่าวว่า “ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลฯ ได้สั่งกำชับฉัน 3 ประการคือ จะต้องไม่นอน นอกจากจะต้องทำการละหมาดวิตริ์เสียก่อน และให้ถือศิลอด 3 วัน และให้ฉันทำการละหมาดฎุฮา ” รายงานโดย อัตติรมีซีย์






วันสำคัญทางศาสนาอิสลาม






วันและเดือนที่สำคัญในอิสลามเดือนฮารอม อัลลอฮ์ตรัสไว้ในบท อัตเตาบะห์ โองการที่ 136 ความว่า “แท้จริงจำนวนเดือน ณ อัลลอฮ์มี ๑๒ เดือน โดยระบุในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ในวันที่พระองค์ได้ทรงสร้างฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ในจำนวนนี้มี 4 เดือนต้องห้าม”ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวไว้ ความว่า “แท้จริง การเวลานั้นได้หมุนเวียนไปเหมือนกับสภาพของมันในวันที่มีการสร้างฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน ๑ ปีมี ๑๒ เดือน ในจำนวนนี้มี 4 เดือนที่ต้องห้ามโดยมี ๓ เดือนติดต่อกันคือ เดือนซุ้ลก้ออ์ดะห์ ซุลฮิจยะห์และมุฮัรรอม และเดือนรอญับซึ่งอยู่ระหว่างเดือนญุมาดัลอาคิเราะห์และเดือนชะอ์บาน” โดย บุคอรีและมุสลิม คำว่า “เดือนต้องห้าม” หมายความว่า ห้ามทำการสู้รบ และห้ามทำการล้างแค้นกันซึ่งมีมาในสมัยญาฮิลียะห์ (ยุคก่อนที่ท่านศาสดามุฮัมมัดจะเผยแพร่ศาสนา) เดือนมุฮัรรอม
มุฮัรรอม เป็นเดือนแรกของปฏิทินอิสลาม ส่วนวันที่สำคัญในเดือนนี้ได้แก่ วันอาชูรออ์คือวันที่ ๑๐ มุฮัรรอม เป็นวันที่ท่านศาสดามุฮัมมัดได้ส่งเสริมให้ถือศีลอดและรวมถึงวันที่๙มุฮัรรอมด้วย เดือนร่อบีอุ้ลเอาวัล นักวิชาการต่างมีความเห็นตรงกันว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด เกิดในวันจันทร์ที่ ๑๒ เดือนร่อบีอุ้ลเอาวัล ปีช้าง วันฮิจเราะห์ การกำหนดปีฮิจเราะห์ศักราช ท่านศาสดามุฮัมมัดได้อพยพไปถึงนครมะดีนะห์ในวันจันทร์ที่ ๑๒ เดือนร่อบีอุ้ลเอาวัล ขณะเดียวกันก็ได้มีการคัดเลือกให้เดือนมุฮัรรอมเป็นเดือนแรกของศักราช โดยเหตุนี้จึงทำให้ปีฮิจเราะห์มีมาก่อนการอพยพของท่านศาสดามุฮัมมัดที่แท้จริงเป็นเวลา๑เดือน๑๒วัน วันตายของท่านศาสดานบีมุฮัมมัด คือวันจันทร์ที่ ๑๒ เดือนร่อบีอุ้ลเอาวัล ฮ.ศ. ๑๑ ตรงกับวันที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๖๓๒ (พ.ศ. ๑๑๗๖) เดือนร่อญับ ร่อญับเป็นเดือนที่ ๗ ของปฏิทินอิสลาม และเป็นเดือนต้องห้ามเดือนเดียวที่อยู่โดดเดี่ยวจากเดือนอื่น และมีการกล่าวว่าในคืนวันที่ ๒๗ ของเดือนนี้เป็นวันเมี๊ยะราจของท่านศาสดามุฮัมมัด ซึ่งนักวิชาการโดยท่านอิหม่ามนะวาวีได้กล่าวให้น้ำหนักว่า วันเมี๊ยะราจของท่านศาสดามุฮัมมัดนั้นเกิดขึ้นในวันที่ ๒๗ ของเดือนร่อบีอุลเอาวาล เดือนชะอ์บาน ชะอ์บาน เป็นเดือนที่ ๘ ของปฏิทินอิสลาม สิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้ปฏิบัติโดยเป็นแบบอย่างให้แก่มุสลิมคือการถือศีลอดซึ่งเป็นสิ่งที่ชอบให้มุสลิมปฏิบัติด้วย
เดือนรอมฎอน รอมฎอน เป็นเดือนที่ ๙ ของปฏิทินอิสลาม ที่มวลมุสลิมทั่วโลกถือศีลอด และในขณะเดียวกันอัลลอฮ์ได้ทรงให้เดือนนี้เป็นเดือนแห่งความประเสริฐ เป็นเดือนแห่งความจำเริญ และเป็นเดือนแห่งการสะสมความดี โดยใน ๑๐ วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ท่านศาสดาได้สั่งใช้ไว้ว่า “ท่านทั้งหลายจงแสวงหาคืน อัลก้อดร์ ในคืนคี่ของ๑๐คืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน”ฮะดีษนำเสนอโดยบุคอรีจากท่านหญิงอาอิชะห์ เดือนเชาวาล ความสำคัญของเดือนเชาวาลคือวันที่หนึ่งของเดือนเป็นวันอีดิลฟิฏร์ วันอีดในอิสลามมี ๒ วันคือ วันอีดิลฟิฏร์ และวันอีดิลอัฎฮา วันอีดิลฟิฏร์จะตรงกับวันที่ ๑ ของเดือนเชาวาล และวันอีดิลอัฎฮาจะตรงกับวันที่ ๑๐ ของเดือนซุลฮิจยะห์ วันอีดทั้งสองนี้ อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้เป็นวันรื่นเริงของมุสลิม การถือศีลอด ๖ วัน ความดีที่ควรปฏิบัติในเดือนเชาวาลอีก ได้แก่ การถือศีลอด ๖ วัน เพราะจะทำให้ได้รับภาคผลเท่ากับการถือศีลอด ๑ ปี เดือนซุลฮิจยะห์ ซุลฮิจยะห์ เป็นเดือนที่มีความสำคัญ โดยเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีฮัจย์ และท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ ที่ยิ่งใหญ่ ณ อัลลอฮ์ และไม่เป็นที่รักยิ่ง ณ อัลลอฮ์ โดยการปฏิบัติความดีในวันเหล่านั้นยิ่งกว่า ๑๐ วันแรกของเดือนซุลฮิจยะห์ ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงกล่าว ตัสเบียะห์ (ซุบฮานัลลอฮ์) ตะห์ลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์)ตั๊กบีร(อัลลอฮุอักบัร)ให้มากในวันเหล่านั้น"การถือศีลอดในวันอารอฟะห์ คือวันที่ ๙ ของเดือนซุลฮิจยะห์ ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “การถือศีลอดในวันอารอฟะห์ แท้จริง ฉันหวังว่า อัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษ (ในความผิด)๑ปีก่อนหน้าวันนี้และ๑ปีหลังวันนี้” วันอีดิลอัฎฮาและวันตัชรีก ท่านศาสดามุฮัมมัด ได้กล่าวถึงความสำคัญของวันอีดิลอัฎฮาและวันตัชรีกไว้ว่า เป็นวันที่มีการปฏิบัติอิบาดะห์ (ศาสนกิจ) และเป็นวันรื่นเริงจึงห้ามการถือศีลอดในวันดังกล่าว และท่านได้กล่าวอีกว่า “วันอารอฟะห์ วันนะหร์ (อีดิลอัฎฮา) และวันตัชรีก (๑๑-๑๒-๑๓ ของเดือนซุลฮิจยะห์) เป็นวันรื่นเริงของเรา โอ้ชาวอิสลาม มันเป็นวันแห่งการกิน และการดื่ม”ผลานิสงค์ของการถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “การงานจะถูกนำเสนอ ณ อัลลอฮ์ ในทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ดังนั้น ฉันจึงชอบที่จะให้การงานของฉันถูกนำเสนอ โดยที่ฉันถือศีลอด”
ความสำคัญของวันศุกร์ ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า “ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาด โดยเขาอาบน้ำละหมาดอย่างดี แล้วไปละหมาดญุมุอะห์ (วันศุกร์) และฟังคุฏบะห์ (ธรรมกาถา) โดยสงบนิ่ง เขาจะได้รับการอภัยโทษ ระหว่างวันศุกร์นั้นและวันศุกร์ต่อไป และเพิ่มอีก 3 วัน และผู้ใดที่ลูบคลำเม็ดหิน (ไม่สนใจฟังคุฏบะห์) แท้จริง เขาทำให้ผลบุญในการละหมาดวันศุกร์เป็นโมฆะ” บันทึกโดยมุสลิม
เดือนในปฏิทินอิสลามทั้ง ๑๒ เดือน ได้แก่ ๑. มุฮัรรอม ๒. ซอฟัร ๓. ร่อบีอุลเอาวาล ๔. ร่อบีอุลอาคิร ๕. ญุมาดัลเอาวัล ๖. ญุมาดัลอาคิร ๗. รอญับ ๘. ชะอ์บาน ๙. รอมฎอน ๑๐. เชาวาล ๑๑. ซุลเก๊าะดะห์ ๑๒. ซุลฮิจยะห์











การแต่งกายและความสวยงามในมุมมองของอัล-กุรอาน





หากเราย้อนไปมองประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัยจะเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์รักความสวยงามรักที่จะให้ตัวเองดูดีในสายตาของคนอื่นการแต่งกายให้ดูดีแสดงถึงรสนิยมและบุคลิกภาพของคนๆหนึ่งได้เป็นอย่างดีคงไม่มีใครปฏิเสธว่าหากมีคนๆหนึ่งแต่งกายสุภาพเรียบร้อยมายืนต่อหน้าเราเราย่อมจะให้ความสำคัญและให้เกียรติกับคนๆนั้นมากกว่าบุคคลที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่เรียบร้อย
การแต่งกายและการรักษาความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตมนุษย์อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่มีคำสอนจากศาสนาก็ตาม แต่ในศาสนาอิสลามเน้นหนักเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก มุสลิมบางคนมีความคิดว่า เพียงแค่เรามีความศรัทธาอย่างบริสุทธ์ใจและมั่นคงรวมทั้งมีจิตใจที่งดงามก็เพียงพอแล้ว ภายนอกของเราจะเป็นอย่างไรก็ตามคงไม่มีความสำคัญอะไรมากนัก แนวคิดดังกล่าวนี้ในทัศนะอิสลามถือว่าไม่ถูกต้องเพราะคำสอนของอิสลามนอกจากจะเน้นให้เรามีการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดและปราศความชั่วร้ายทั้งหลายแล้วยังเน้นให้เราให้ความสำคัญกับความสะอาดและการแต่งกายภายนอกอีกทั้งยังสอนให้เรารักความสวยงามด้วย ดังนั้นมนุษย์จะต้องเติมเต็มทั้งสี่ด้านนี้ในรูปแบบที่เหมาะสมดังนั้นในทางวิชาการแล้วหากเราไม่ให้ความสำคัญในเรื่องความสวยงามและความสะอาดแล้วจะมีผลลบเกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ได้
หากเราย้อนกลับมาพิจารณาในแบบฉบับของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(สมาชิกในครอบครัวของท่านศาสดา)เราจะพบว่าพวกท่านเหล่านั้นให้ความสำคัญกับการแต่งกายภายนอกและความสวยงามเป็นอย่างมาก มีฮะดิษบทหนึ่งในหนังสือ ฟุรูอุลกาฟี รายงานว่า มีชายคนหนึ่งถามท่านฮะซัน ว่า : ทำไมเวลาท่านจะนมาซท่านต้องสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สวยงามรวมทั้งเลือกใช้เสื้อผ้าที่ดีที่สุด้วยละ ท่านฮะซัน กล่าวตอบว่า : อัลเลาะฮ์ทรงสวยงามและรักความสวยงาม เหตุนี้เองฉันถึงสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงามเพื่อเข้าเฝ้าพระองค์ อีกทั้งพระองค์ยังสั่งว่า โอ้บรรดาลูกหลานของอาดัม จงประดับประดาตัวของพวกท่าน (ให้สวยงาม) เมื่อต้องการไปมัสยิด”(ฟุรูอุลกาฟี เล่ม 6 หน้า 443)ในฮะดิษมีกล่าวถึงสาเหตุการประทานโองการข้างต้นกล่าวว่า : หลังจากที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวสั่งสอนบรรดาสาวกเกี่ยวกับเรื่องการตอบแทนในวันปรโลก อุศมาน บิน มัซอูน รวมทั้งบรรดาสาวกจำนวนหนึ่งตัดสินใจว่าจะไม่หลับนอนกับภรรยา และจะไปอยู่ในที่สงบและถือศิลอดตลอดปีต่อมาไม่นานภรรยาของ อุศมาน บิน มัซอูน มาที่บ้านของศาสดา (ศ็อลฯ) ในสภาพที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่เก่าและขาด ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ได้กล่าวถามนางว่า : ทำไมท่านถึงได้ปล่อยให้ตัวเองโทรมขนาดนี้ นางจึงได้เล่าเรื่องราวของสามีให้ท่านศาสดา (ศ็อล ฯ) ฟัง
ท่านศาสดาเมื่อได้ฟังเรื่องราวทั้งหมด จึงประกาศให้สาวกทุกคนรวมตัวกันที่มัสยิด และกล่าวว่า : ฉันไม่เคยสั่งให้พวกท่านเป็นเหมือนนักพรตที่ละทิ้งเรื่องทางโลกทั้งหมด การปฏิบัติแบบนี้ไม่มีในศาสนาของฉัน .... (ฟุรูอุลกาฟี เล่ม 6 หน้า 444)
จากคำกล่าวทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าอิสลามนอกจากจะให้ความสำคัญในการขัดเกลาด้านจิตใจแล้วอิสลามยังให้ความสำคัญและมีบทบัญญัติเกี่ยวกับร่างกายภายนอกด้วย ดังนั้นผู้ที่คิดว่าการให้ความสำคัญกับความสะอาดและความสวยงามภายนอกแล้วถือว่าคิดผิดเสียแล้ว




การแต่งกายและการปกปิดเอาเราะฮฺ






การแต่งกายไม่เพียงแต่จะมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องร่างกายของมนุษย์ให้พ้นจากสิ่สกปรก แสงแดดและลมฟ้าอากาศเท่านั้นแต่การแต่งกายยังเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมศีลธรรมและรสนิยมของผู้สวมใส่ด้วย ในอิสลามวัตถุประสงค์สำคัญของการแต่งกายคือการปกปิดสิ่งพึงละอายของร่างกายโดยเฉพาะร่างกายของผู้หญิง ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของเรือนร่างเพศหญิงกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของผู้ชาย ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นมาในสังคม ดังนั้น อิสลามจึงได้วางหลักเกณฑ์ในการแต่งกายสำหรับมุสลิมไว้ดังนี้1.เสื้อผ้าจะต้องสะอาด ประณีต เรียบร้อย ดูสวยงามเหมาะสมกับบุคลิกภาพ การดำรงตนสมถะหรือการเคร่งครัดในศาสนาไม่จำเป็นต้องหมายถึงการใส่เสื้อผ้าเก่า ๆ ดูซอมซ่อเพื่อให้คนอื่นดูว่าตัวเองไม่ใส่ใจใยดีต่อโลก อย่าแต่งกายให้คนอื่นดูถูกหรือมองเห็นเราเป็นตัวตลก

2.อิสลามไม่ห้ามการแต่งการด้วยเสื้อผ้าที่ดีมีราคาถ้าหากว่าฐานะทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวยและต้องการแสดงออกให้เห็นว่าตนได้รับความโปรดปรานจากพระเจ้าแต่ในขณะเดียวกันอิสลามก็ห้ามการแต่งกาย โดยมีเจตนาที่จะโอ้อวดถึงความมั่งคั่ง และความทะนงตนว่าเหนือกว่าคนอื่น

3.เสื้อผ้าต้องปกปิดสิ่งพึงละอายของผู้สวมใส่ สำหรับผู้หญิงนั้นสิ่งที่พึงปกปิด (เอาเราะฮ) ก็คือทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ ส่วนเอาเราะฮของผู้ชายนั้นคือบริเวณตั้งแต่สะดือถึงหัวเข่า

4.ดังนั้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาข้างต้น ผู้หญิงมุสลิมจะต้องไม่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่รัดรูปแนบเนื้อ หรือเสื้อผ้าที่โปร่งบางหรือมีรูที่ทำให้มองเห็นผิวหนังหรือเรือนร่างภายใน

5.ผู้ชายจะต้องไม่ใส่เสื้อผ้าหรือแต่งกายเลียนแบบผู้หญิง และผู้หญิงจะต้องไม่ใส่เสื้อผ้าหรือแต่งกายเลียนแบบผู้ชาย ทั้งนี้เพื่อดำรงรักษาบุคลิกและเอกลักษณ์แห่งเพศของตัวเองไว้ ท่านศาสดามุฮัมมัดได้สาปแช่งคนที่แต่งกายเลียนแบบของเพศตรงข้าม 6.อิสลามห้ามมุสลิมชายสวมใส่เสื้อผ้าที่ตัดมาจากผ้าไหมและสวมใส่เครื่องประดับทองคำ ทั้งนี้เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เหมาะสมที่จะเป็นอาภรณ์และเครื่องประดับของผู้หญิง
7.อิสลามห้ามหญิงมุสลิมใส่น้ำหอมออกนอกบ้าน เพราะไม่ต้องการให้กลิ่นน้ำหอมไปกระตุ้นความรู้สึกของเพศตรงข้าม แต่ขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้ผู้หญิงโดยเฉพาะภรรยาใส่น้ำหอมและแต่งกายให้สะอาดสวยงามเมื่ออยู่กับสามี

8.หวีผมให้เรียบร้อยและอย่าปล่อยให้ผมกระเซิง

9.ก่อนจะสวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้า ให้สะบัดหรือเคาะเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้แมลงหรือสัตว์อันตรายที่อาจอาศัยหรือติดอยู่ในเสื้อผ้าและรองเท้าหลุดไป และเมื่อสวมใส่เสื้อผ้าหรือรองเท้า ให้เริ่มใส่ทางข้างขวาก่อน

10.หลีกเลี่ยงการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีฉูดฉาด หรือแต่งกายเลียนแบบนักบวชหรือนักพรต

11.ให้เสื้อผ้าแก่คนยากจนบ้าง เพื่อเป็นการขอบคุณต่ออัลลอฮที่ทรงโปรดปรานให้เราได้มีเสื้อผ้าสวมใส่ ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า "ใครที่ให้เสื้อผ้าแก่มุสลิมสวมใส่ร่างกายของเขา อัลลอฮจะให้เขาได้สวมใส่เสื้อผ้าสีเขียวแห่งสวรรค์ในวันแห่งการพิพากษา"


12.ให้เสื้อผ้าที่ดีตามสถานภาพของท่านเองแก่คนรับใช้หรือบ่าวที่ทำหน้าที่รับใช้ท่านมาตลอดทั้งวันท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า "บ่าวทั้งชายและหญิง คือ พี่น้องของท่าน อัลลอฮได้ทรงมอบพวกเขาให้อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของท่าน ดังนั้น ใครก็ตามที่อัลลอฮได้ทรงมอบอำนาจและการควบคุมบุคคลอื่นให้ เขาก็จะต้องให้ผู้อยู่ใต้อำนาจของเขาได้กินและได้สวมใส่เสื้อผ้าเหมือนที่เขาเองสวมใส่ และจะต้องไม่ให้เขาทำงานเกินความสามารถ และถ้าหากบ่าวไม่สามารถทำงานที่หนักเกินได้ ผู้เป็นนายก็จะต้องมาให้ความช่วยเหลือด้วย"



ทำไมสาวมุสลิมถึงคลุมผม และชายมุสลิมถึงใส่หมวก





การคลุมผ้า (ฮิญาบ )ของสตรีมุสลิมนั้นไม่ใช่ประเพณีของอาหรับ แต่เป็นบทบัญญัติของศาสนา ฮิญาบแปลว่า”ปิดกั้น” ประวัติที่มาของการคลุมฮิญาบ มีดังนี้ช่วงแรกๆในการเป็นศาสนฑูตของท่านนบีมูฮำมัดนั้น ยังไม่มีคำสั่งเรื่องการคลุมฮิญาบบัญญัติลงมาครั้นเมื่อท่านนบีมูฮัมมัด (ซล.) มุ่งหน้าไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ช่วงนั้นท่านนบียังไม่มีบ้านเป็นของตนเอง จึงพักที่บ้านของอบูอัยยูบ อันศอรี แต่ภรรยาของท่านนบีต้องพักที่อื่น เช่นนั้น เมื่อภรรยาของท่านนบีและสตรีมุสลิมท่านอื่นๆ ต้องการออกไปทำภาระกิจ (เช่น ธุระส่วนตัว....เมื่อก่อนยังไม่มีห้องน้ำ) ในยามค่ำคืน ก็ต้องออกไปทำภารกิจนอกบ้านซึ่งในระหว่างทาง พวกอันธพาลมักนั่งแถวๆ ข้างทาง คอยหยอกล้อ,จีบสาว และพูดจาเกี้ยวพาราสีต่อสตรีที่เดินผ่านไปมา
หลังจากนั้นอัลลอฮฺจึงได้ประทานอายะฮฺอัล-กุรอานลงมาอีก
ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮฺ เล่าว่า เธอเคยได้อยู่กับท่านรอซูลุลอฮฺ พร้อมท่านหญิงมัยมูนะฮฺ ขณะนั้นเองที่เราทั้งสองอยู่กับท่านนบีมีชายคนหนึ่งชื่อ อิบนุ อุมมิ มักตูม เข้ามาหาท่าน ซึ่งเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่เราได้รับคำสั่งเรื่องคลุมฮิญาบแล้ว ดังนั้นท่านรอซูลุลลอฮฺจึงพูดกับเราว่า เธอทั้งสองจงคลุมฮิญาบปกปิดจากเขาซิ แล้วฉันก็พูดว่า โอ้ท่านรอซูลุลลอฮฺ เขาไม่ได้เป็นคนตาบอดหรือไง เขามองไม่เห็นเราหรอก และเขาก็ไม่รู้จักเราด้วย? ท่านรอซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า แล้วเจ้าทั้งสองตาบอดหรือเปล่า? แล้วเจ้าทั้งสองมองไม่เห็นเขาหรอกหรือ?(รายงายโดยอบูดาวูดและอัตติรฺมิซีย์)ดังนั้น การดึงผ้าลงมาคลุมอกนั้น คงไม่ใช่ผ้าพันคอเป็นแน่แท้ เพราะกล่าวไว้แล้วว่า ผ้าจากศีรษะ สร้อยข้อเท้าเดินแล้วเสียงกรุ๊งกริ๊ง ก็ไม่แตกต่างจากยุคยาฮิลิยะฮฺ เพราะใช้เรียกร้องความสนใจเรียกว่าตกเป็นลูกน้องของชัยฎอนเพราะเมื่อเรียกร้องความสนใจคนที่มองมาก็จะมีทั้งชายและหญิงชายก็จะทำซินาด้วยสายตาหญิงก็จะมามองด้วยสายตา….
ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ศรัทธาทุกคนต้องยกย่องและให้เกียรติแก่ท่านนบีและครอบครัวของท่าน ต้อระมัดระวังที่จะไม่ทำการใดๆ ที่สร้างความอึดอัดใจแก่ท่าน หรือทำร้ายจิตใจท่านนบี ซล.และครอบครัว อัลลอฮฺ ซุบบะฮานะฮูวะตะอาลา ทรงเน้นย้ำว่า นี่เป็นเรื่องใหญ่ ณ ที่อัลลอฮฺซุบบะฮานะฮูวะตะอาลาให้เราสำนึกไว้ ฮิญาบไม่ได้เป็นการกดขี่สตรีเพศของอิสลาม อิสลามให้ป้องกันก่อนจะมีสิ่งไม่ดีตามมา อิสลามมีการปกป้องและป้องกันจากสิ่งไม่ดีทั้งหลายเราไม่อาจปฏิเสธได้ในเรื่องธรรมชาติอารมณ์ของมนุษย์ มีได้หลายอย่างการมองการได้กลิ่นและการสัมผัสดังนั้นด้วยหัวใจของมนุษย์นั้นที่ไม่สามารถคาดเดาได้อิสลามจึงให้สตรีปกป้องตัวเองไว้ก่อนดีกว่าที่จะไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดูแลตัวเองปกป้องตัวเองเสียก่อน ก่อนที่จะไปพึงพาอาศัยคนอื่น หรือเมื่อเกิดปัญหาแล้วมาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ


การแต่งกายและเอาเราะฮฺของชายมุสลิม

ตามปกติทั่วๆไปชายมุสลิมนั้นมีส่วนที่ต้องปกปิดไว้ ตั้งแต่ ระหว่างหัวเข่าถึงสะดือ จะใส่สูทผูกไทค์ หรือจะใส่สะโหร่ง กางเกงก็ได้ ฯลฯ แต่ต้องไม่ปิดเผยเอาเราะฮฺ (สำหรับชายคือระหว่างหัวเข่าถึงสะดือ)การสวมหมวกของชายมุสลิม(ทั้งสีขาวและสีอื่นๆ)เรียกกว่าหมวกใส่เพื่อทำการละหมาด(นมัสการพระเจ้า) ภาษามาลายูเรียกว่า กะปิเยาะห์ ชายมุสลิมใส่เป็นส่วนมาก เพราะท่านนบีมูฮัมมัด (ซล.) ได้กระทำไว้เป็นแบบอย่าง (อิสลามนั้นใช้แบบอย่างจากนบีท่านนบีมูฮัมมัด (ซล.) ที่รับวะยูห์มาจากพระเจ้า เรียกว่าซุนนะฮฺ) แต่ไม่ได้จำเป็นต้องใส่แต่หมวกเท่านั้น เพราะท่านนบีมูฮัมมัด (ซล.) บางครั้งก็ใช้ผ้าสะระบั่น มาโพกที่ศรีษะบางครั้งก็ใส่หมวกและเอาผ้าโพกอีกครั้งหนึ่ง
การที่มุสลิมโพกผ้าศีรษะถือว่าเป็นซุนนะฮฺเหมือนกัน มีรายงานถึงลักษณะของท่านนบีว่า ท่านอัมร์เล่าว่า “ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวเทศนาธรรม (คุฏบะฮฺ) โดยใช้ผ้าโพกศีรษะสีดำ“บันทึกโดยติรมิซีย์,อิบนุมาญะฮฺ และอบูดาวูด).

ก่อนมีครอบครัว

ในการสร้างครอบครัวมุสลิมขึ้นมานั้น อิสลามได้เสนอแนวทางและชี้แนะให้ทราบถึงองค์ประกอบและเงื่อนไขต่างๆโดยภาพรวมเพื่อให้ความรับผิดชอบสามารถที่จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้นและสามารถบรรลุเป้าหมายของการมีครอบครัว การแต่งงานนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อตอบสนองคำสั่งของอัลลอฮ์ นั่นคือจุดมุ่งหมายหนึ่งเพื่อสร้างครอบครัวที่ดีและทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูและสั่งสอนลูกหลานให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมรับผิดชอบต่อหน้าที่สร้างความดีในสังคมให้เกิดความสงบสุขและความสันติสิ่งเหล่านั้นถือว่าเป็นหน้าที่และภารกิจหรืออามานะฮ์ที่พระองค์อัลลอฮ์ได้มอบหมายให้กับมนุษย์ จุดมุ่งหมายหนึ่งของการแต่งงานก็คือเพื่อรักษาสายตาและขอบคุณซูโกรต่อนิมัตของอัลลอฮ์ที่ได้ประทานให้แก่มนุษย์และเป็นการตอบสนองความต้องการทางเพศของมนุษย์อีกด้วยมีรายงานจากท่านนบี ศ็อลฯ ได้กล่าวว่า “ บุคคล3จำพวกที่อัลลอฮทรงมีหน้าที่ให้การช่วยเหลือแก่พวกเขานั่นคือ 1. คนที่ต่อสู้ (ญิฮาด) ในหนทางของอัลลอฮ์ 2. ทาสที่ต้องการไถ่ถอนตนเองเป็นอิสระ 3. ผู้ที่แต่งงานด้วยจุดประสงค์เพื่อการยับยั้งตนเองจากความชั่ว ” บันทึกโดย อัต- ตัรมีซีย์

ร่อซูลได้กล่าวอีกว่า “ ผู้ใดแต่งงานเท่ากับว่าเขาได้ทำให้ศาสนาของเขาสมบูรณ์ไปแล้วครึ่งหนึ่ง ดังนั้นเขาจงยำเกรงต่ออัลลอฮในอีกครึ่งหนึ่งที่เหลืออยู่ ” บันทึกโดย อัฏ- ฏ็อบรอนีย์ ในการเลือกคู่ครองนั้นต้องอาศัยความรอบคอบดังหะดีษของท่านนบี ศ็อลฯ ได้กล่าวว่า“ จงเลือกคู่ครองเพื่อสืบเชื้อสายของพวกท่านให้ดี เพราะแท้จริงพันธุกรรมนั้นเป็นสิ่งที่เคลื่อนย้ายสู่ลูกหลาน ” มีรายงานอีกระบุว่า “ การสืบเชื่อสายนั้นเป็นสิ่งที่ซึมซาบกัน ”และมีหะดิษบทหนึ่งซึ่งความว่า “ จงแต่งงานกับคนที่คู่ควรกับเจ้า จงแต่งงานให้แก่พวกเขาด้วยคนที่คู่ควร ” บันทึกโดย อัฏ-ฏอบรอนีย์และอัลหากิมดังนั้นการเลือกภรรยาต้องเลือกภรรยาที่มีมารยาทและมีศาสนาถึงแม้ว่านางเป็นคนที่ยากจนและไม่สวยก็ตามนบี ศ็อลฯ กล่าวในหะดีษบทหนึ่งซึ่งความว่าจงอย่าแต่งงานกับสตรี เนื่องด้วยความสวยของเธอ เพราะความสวยนั้นอาจทำให้เธอได้รับความวิบัติ และจงอย่าแต่งงานเพื่อทรัพย์สมบัติของเธอ เพราะทรัพย์สมบัติของเธออาจทำให้เธอเป็นผู้ล้วงละเมิด จงแต่งกับสตรีที่มีศาสนา แท้จริงทาสหญิงผิวดำที่มีศาสนานั้นดีกว่า บันทึกโดย อิบนุมาญะฮ ต้องพยายามหลีกเหลี้ยงจากสิ่งต่างๆที่ขัดกับพระบัญชาของอัลลอฮในเรื่องดังกล่าว และหลีกเหลี้ยงจากสิ่งที่พระองค์ทรงกริ้วโกรธ และทรงลงโทษ เพราะท่านนบี ศ็อลฯ กล่าวว่า“ ผู้ใดที่แต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งเนื่องด้วยความสูงศักดิ์ของนางการแต่งงานนั้นจะไม่เพิ่มพูนสิ่งใดๆแก่เขานอกจากความต่ำต้อย และผู้ใดแต่งงานเนื่องด้วยทรัพย์สมบัติของนางมันก็จะไม่เพิ่มพูนสิ่งใดๆนอกจากความยากไร้ และผู้ใดที่แต่งงานเนื่องด้วยชื่อสกุลของนางมันก็จะไม่เพิ่มพูนสิ่งใดๆนอกจากความไร้เกียรติ และผู้ใดแต่งงานโดยเขาไม่ประสงค์สิ่งใดนอกจากต้องการลดสายตาของเขาให้ต่ำลงและปกป้องรักษา ( ความบริสุทธิ์) ของอวัยวะเพศของเขาหรือการเชื่อมความสัมพันธ์เครือญาติ อัลลอฮ์ก็จะทรงประทานความจำเริญแก่เขาในตัวนางและความจำเริญแก่นางในตัวเขา ” บันทึกโดย อัล-ฏอบรอนีย์ จากหะดีษต่างๆที่ได้เสนอไว้ในเบื้องต้นแสดงให้เราเห็นว่าการที่จะได้มาซึ่งคู่ครองหรือภรรยาที่ดีนั้นจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของศาสนา เพราะศาสนาจะช่วยนำไปสู่การปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบและมารยาทที่ดีงาม ดังนั้นการที่สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวรู้หน้าที่และมารยาทที่ดีงามเป็นหนทางที่จะช่วยสร้างครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุขได้
บทบาทและหน้าที่ของสามีภรรยา
สถาบันครอบครัวนับว่าเป็นสถาบันแห่งแรกที่สําคัญในการสร้างสังคมที่มีความสุข ด้วยเหตุผลข้างต้น อิสลามได้กําหนดหน้าที่ต่างๆของบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างสามีภรรยา
• บทบาทและหน้าที่ของสามีภรรยามี 3 ส่วน
1. บทบาทและหน้าที่ของสามีต่อภรรยา
2. บทบาทและหน้าที่ของภรรยาต่อสามี
3. บทบาทและหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
• บทบาทและหน้าที่ของสามีต่อภรรยา
• มอบค่าสินสอด(มะฮัร)ครบสมบูรณ์ โดยถือปฏิบัติคําสั่งสอนของเอกองค์อัลลอฮ์ดังได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า “ และจงให้แก่บรรดาหญิงซึ่งมะฮัรของนางด้วยความเต็มใจ แต่ถ้านางเห็นชอบที่จะให้สิ่งหนึ่งแก่พวกเจ้าจากมะฮัรนั้นแล้ว ก็จงบริโภคสิ่งนั้นด้วยความเอร็ดอร่อยและโอชา ” อัล-นีซอ์ 4
คนอื่นไม่มีสิทธิ์ที่จะเอาสินสอดดังกล่าว อัลลอฮ์ทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอานความว่า “ และหากพวกเจ้าต้องการเปลี่ยนคู่ครองคนหนึ่งแทนที่ของคู่ครองอีกคนหนึ่ง และพวกเจ้าได้ให้แก่นางหนึ่งในหมู่นางเหล่านั้น ซึ่งทรัพย์อันมากมายก็ตาม ก็จงอย่าได้เอาสิ่งใดจากทรัพยนั้นคืน พวกเจ้าจะเอามันคืนด้วยการอุปโลกน์ความเท็จและการกระทําบาปอันชัดเจนกระนั้นหรือ. ” อัล-นิซาอ์ 20
- เลี้ยงดูภรรยา ทั้งเรื่องอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยดังที่อัลกุรอานได้ระบุไว้ความว่า “ และมารดาทั้งหลายนั้นจะให้นมแก่ลูกๆของนางภายในสองปีเต็ม สําหรับผู้ที่ต้องการจะให้ครบถ้วนในการให้นม และหน้าที่ของพ่อเด็กนั้น คือปัจจัยยังชีพของพวกนางและเครื่องนุงห่มของพวกนางโดยชอบธรรม ไม่มีชีวิตใดจะถูกบังคับนอกจากเท่าที่ชีวิตมีกําลังความสามารถเท่านั้น มารดาก็จงอย่าได้ก่อความเดือดร้อนให้แก่สามี เนื่องด้วยลูกของนางและพ่อเด็กก็จงอย่าได้ก่อความเดือดร้อนให้แก่ภรรยาเนื่องด้วยลูกของเขา และหน้าที่ของทายาทผู้รับมรดกก็เช่นเดียวกัน แต่หากทั้งสองต้องการหย่านม อันเกิดจากความพอใจและการปรึกษาหารือกันจากทั้งสองแล้ว ก็ไม่มีบาปใดๆแก่เขาทั้งสอง และพวกเจ้าประสงค์ที่จะให้แม่นมแก่ลูกๆของพวกเจ้าแล้ว ก็ย่อมไม่มีบาปใดๆ แก่พวกเจ้า เมื่อพวกเจ้าได้มอบสิ่งที่พวกเจ้าให้แก่นางเป็นค่าตอบแทน โดยชอบธรรม และจงยําเกรงอัลลอฮ์เถิด และพึ่งรู้ด้วยว่า แท้จริงอัลลอฮนั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทํา ” อัล-บะเกาะเราะห์ 233
• อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อัลลอฮทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า “ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ไม่อนุมัติแก่พวกเจ้าการที่พวกเจ้าจะเอาบรรดาหญิงเป็นมรดกด้วยการบังคับ และไม่อนุมัติเช่นเดียวกันการที่พวกเจ้าจะขัดขวางบรรดานางเพื่อพวกเจ้าจะเอาบางสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่นาง นอกจากว่าพวกนางจะกระทําสิ่งลามก อันชัดแจ้งเท่านั้น และจงอยู่ร่วมกับนางด้วยดีหากพวกเจ้าเกลียดนาง ก็อาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่งขณะเดียวกันอัลลอฮ์ก็ทรงให้มีในสิ่งนั้น ซึ่งความดีอันมากมาย ” อัล-บะกอเราะ 19
- อบรมสั่งสอน หรือห้ามไม่ให้ภรรยาปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงห้ามดังอายัตอัลกุรอานมีใจความว่า “ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุมครองตัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน มีมาลาอีกะฮผู้แข็งกร้าวหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา ” อัล-ตัหรีม 6
- มีความห่วงใยต่อภรรยา คือมีความห่วงใยในเรื่องศาสนา เกียรติและศักดิ์ศรี โดยต้องดูแล ป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งที่อาจจะทำให้กระทบศักดิ์ศรี เกียรติยศของครอบครัวและเครือญาติ
• บทบาทและหน้าที่ของภรรยาต่อสามี
- จงรักภักดีต่อสามี ในสิ่งที่ดีงาม ดังหะดีษบทหนึ่งที่ท่านศาสนฑูตได้กล่าวความว่า “ ตราบใดที่สตรีผู้นั้นละหมาดห้าเวลา ถือศิลอดเดือนรอมฎอน รักษาอวัยวะเพศ และจงรักภักดีต่อสามี แน่นอนสตรีผู้นั้นจะได้เข้าในสวนสวรรค์ ” รายงานโดยอัหมัด
-รักษาเกียติยศ ศักดิ์ศรีเเละทรัพสินของสามี อัลลอฮ์ได้ทรงกล่าวในคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งมีใจความว่า “ บรรดาชายนั้น คือผู้ที่ทําหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง เนื่องด้วยการที่อัลลอฮ์ได้ทรงให้บางคนของพวกเหนือกว่าอีกบางคน และด้วยการที่พวกเขาได้จ่ายไปากทรัพย์ของพวกเขา บรรดากุลสตรีนั้นคือผู้จงรักภักดี ผู้รักษาในทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ลับหลังสามี เนื่องด้วยสิ่งที่อัลลอฮทรงรักษาไว้ และบรรดาหญิงที่พวกเจ้าหวั่นเกรงในความดื้อดึงของนางนั้น ก็จงกล่าวตักเตือนนางและทอดทิ้งนางไว้แต่ลำพังในที่นอน และจงเฆี่ยนนาง แต่ถ้านางเชื่อฟังพวกเจ้าแล้ว ก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นาง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงเกรียงไก ร ” อัล-นิซาอฺ 34
- ดูแลรักษาความรู้สึกของสามี โดยพยายามให้สามีได้ยินและเห็นในสิ่งที่ดีงามถูกอกถูกใจยิ้มแย้มแจ่มใส่ตลอดเวลา พูดหวานไพเราะซื่อสัตย์และประพฤติดีงามต่อสามีไม่ทำให้สามีรู้สึกเครียด
- ดูแลบ้านเรือนและเลี้ยงดูสั่งสอนบุตรดังหะดีษของท่านร่อซูลศ็อลฯรายงานโดยอนัสความว่า
“ บรรดาซอหาบะห์ของท่านนบีนั้น เมื่อสตรีคนใดคนหนึ่งแต่งงาน พวกเขาก็สั่งให้บริการดูแลและเคารพสิทธิของสามีและอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรและยอมที่จะทำตามคำสั่งของพระองค์และจะดำรงอยู่บนอามานะฮทีได้รับมาและยอมเสียสละเพือที่จะทำงานอิสลาม ”
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัวและญาติๆของสามี
• บทบาทและหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันทั้งสองฝ่าย
- ร่วมกันสร้างความสุขและหลีกเหลี่ยงจากความทุกข์ อาบูดัรดาอ์ รอฏฺยัลลอฮ์อันหูได้กล่าวต่อภรรยาของเขาความว่า
“ หากคุณเห็นฉันโกรธแค้น คุณพยายามเอาใจฉัน และถ้าหากฉันเห็นคุณโกรธแค้นฉันก็จะพยายามเอาใจคุณ และ หากเราไม่ทำเช่นนั้นเราก็อยู่ร่วมกันไม่ได้ ”
• บทบาทและหน้าที่ต้องปฏิบัติร่วมกันคือ
1-รวมมือกันในการจงรักภักดีต่ออัลลอฮและตักเตื่อนซึ่งกันและกันในการยำเกรงต่ออัลลอฮ
2-สร้างความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกันในการสร้างครอบครัวที่ดีอบอุ่นมีความสุขและอบรมสั่งสอนบุตรให้อยู่ในแนวทางของอิสลาม
3-พยายามปกปิดเรื่องราวที่ไม่ควรเปิดเผย เช่นเดียวกับเรื่องบนเตียง ดังมีหะดีษจากท่านร่อซูลศ็อลฯ ความว่า
“ มนุษย์ที่เลวทราม ณ อัลลอฮในวันกียามะห์ คือ ผู้ชายที่นอนกับภรรยา และผู้หญิงที่นอนกับสามี และ ต่างฝ่ายต่างเปิดเผยสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผย ” รายงานโดยมุสลิม
4.พยายามสร้างความซื่อสัตย์สุจริต ความรัก ความอบอุ่นในครอบครัวและความห่วงใยซึ่งกันและกันให้ประจักษ์ดังที่อัลลลอฮ์ได้บัญญัติไว้ในอัลกุรอานความว่า “ และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครองให้แก่พวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้าจะได้มีความสุขอยู่กับนาง และทรงให้มีความรักใคร่และความเมตตาระหว่างพวกเจ้า แท้จริงในการนี้ แน่นอนย่อมเป็นสัญญาณแก่หมู่ชนผู้ใคร่ครวญ ”
จากจุดนี้เองความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ครอบครัวและสร้างสังคมมุสลิมเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีงามแก่สังคมนับว่ามาตรการขั้นแรกที่สอดคล้องกับแนวทางของศาสนาอิสลามกล่าวก็คือการทําให้ครอบครัวเป็นมุสลิมที่แท้จริงเสียก่อน กล่าวคือจะต้องนําพาสาส์นอิสลามสู่ครอบครัวภรรยาและลูกๆอันเป็นสังคมเล็กๆก่อนต่อจากนั้นจึงพาสู่บรรดาญาติพี่น้องในระดับต่างๆดังที่ร่อซุลได้ทําเป็นแบบอย่างไว้ในระยะเริ่มแรกของการเผ่ยแพร่ศาสนา อัลลอฮได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า “ ดังนั้นจงอย่าเรียกร้องวินวอนพระเจ้าอื่นใดร่วมกับอัลลอฮ มิฉะนั้นสู่เจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ถูกทําโทษ และจงตักเตือนคนสนิทแห่งตระกูลของเจ้า และจงโน้มปีกของเจ้าแสดงความนอบน้อมแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ปฎิบัติตามเจ้า ” อัล-ชูรออ 213-215
จากจุดนี้ ภารกิจแรกที่มุสลิมต้องแบกรับหลังจากความรับผิดชอบที่พึงมีต่อตนเองแล้วคือ ความรับผิดชอบโดยตรงต่อครอบครัวบ้านและลูกๆของเขาดังปรากฏหลักฐานในอัล-กุรอานความว่า “ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงปกป้องรักษาตัวของสูเจ้าและครอบครัวของสูเจ้าให้พันจากไฟ ซึ่งมนุษย์และก้อนหินเป็นเชื้อเพลิงของมัน มีมะลาอิกะฮผู้แข็งกร้าวและห้าวหาญเฝ้ารักษามันอยู่ พวาเขาไม่ขัดขืนอัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ได้ทรงบัญชาและพวกเขาปฏิบัติทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ถูกบัญชา ” อัล – ตัหรีม


การแต่งงานในทัศนะของอิสลาม

อิสลามมิได้ถือว่าการแต่งงานเป็นการเชื่อมชายและหญิงเข้าด้วยกัน เพียงเพื่อสนองความต้องการทางเพศแต่เพียงอย่างเดียว แต่การแต่งงานเป็นสัญญาทางสังคมที่ประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบอันมากมายและกว้างขวาง เหตุผลของเรื่องนี้อธิบายได้ว่าตามหลักศรัทธานั้นถือว่า สตรีมิใช่เครื่องเล่นของเหล่าบุรุษเพศ แต่สตรีเป็นสิ่งมีชีวิตทางศีลธรรม และสิ่งมีชีวิตทางจิตวิญญาณที่พระองค์อัลลอฮ. ศุบหฯ ทรงมอบหมายให้บุรุษดูแลตามพันธสัญญาซึ่งพระองค์ทรงเป็นพยานในครั้งปฐมกาล เพราะฉะนั้นภรรยาจึงมิใช่ผู้ที่ถูกมุ่งหมายให้สนองความสำราญทางกามให้แก่บุรุษเพศแต่เพียงอย่างเดียว แต่เพื่อจะร่วมมือกับบุรุษเพศสร้างชีวิตครอบครัว และเหนืออื่นใด คือการสร้างชีวิตมนุษย์ชาติทั้งมวลให้มีความหมายความสำคัญมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของการแต่งงานมีกล่าวไว้ในอัล-กุรอานหลายอายะฮ.ด้วยกัน ตอนหนึ่งมีใจความว่า “และหนึ่งในสัญญาทั้งหลายของพระองค์ คือพระองค์ได้ทรงสร้างคู่ครองสำหรับพวกเจ้าจากตัวของพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้าจะได้มีใจสงบในตัวนาง และพระองค์ได้ทรงทำให้มีความรักและความเอ็นดูในระหว่างพวกเจ้า” (30:21)
นัยของอายะฮ.นี้มีอยู่ สตรีมิได้ต่ำต้อยกว่าบุรุษในแง่ที่ว่าบุรุษถูกสร้างขึ้นมาจากธาตุที่ดีกว่า ขณะที่สตรีเป็นขึ้นมาจากมูลฐานที่ต่ำกว่า ทั้งบุรุษและสตรีจึงมีอินทรีย์ที่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการแต่งงานตามอัล-กุรอานจึงได้แก่การรวมสองอินทรีย์เข้าด้วยกัน ซึ่งในเนื้อแท้นั้นทั้งสองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่แล้ว อัล-กุรอานกล่าวว่า “พระองค์คือผู้ทรงสร้างพวกเจ้าจากอินทรีย์หนึ่งและได้ทรงทำจากอินทรีย์นั้นซึ่งคู่ครองของเขา เพื่อเขาจะได้สงบในนาง” (17:189) คำว่า “ความสงบ” ณ ที่นี้จึงมีความหมายมากกว่าการสนองความใคร่ทางเพศแต่เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าจะกล่าวว่าแนวความคิดเรื่องความสัมพันธ์ทางการแต่งงานในอิสลามจึงประกอบด้วยความคิดทางศีลธรรมและจิตวิญญาณ จากสัมพันธภาพของชีวิตการครองเรือนคู่สามีภรรยาจึงถูกชักนำให้ใกล้ชิดกันและกันทั้งในแง่ร่างกาย จิตใจและอารมณ์ภายใต้บรรยากาศที่ปกคลุมไปด้วยความตักวา (ความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า)
ท่านอนัสรายงานว่าเศาะหะบะฮ.บางท่านสอบถามบรรดาภรรยาของท่านรสูล ศ็อลฯ เกี่ยวกับการกระทำต่าง ๆ ซึ่งท่านรสูล ศ็อลฯ ทำในที่ลับ เศาะหะบะฮ.บางคนกล่าวว่า “ฉันจะไม่แต่งงานกับผู้หญิง” บางคนกล่าวว่า "ฉันจะไม่หลับไม่นอน” และบางคนกล่าวว่า “ฉันจะไม่บริโภคเนื้อ” ท่านรสูล ศ็อลฯ กล่าวสรรเสริญพระองค์อัลลอฮ. ศุบหฯ และกล่าวว่า “เกิดอะไรขึ้นกับผู้คนเหล่านี้ จนพวกเขาพูดกันอย่างนั้นอย่างนี้ ขณะที่ฉันเองทำละหมาด ฉันยังถือศีลอดและฉันละศีลอด ฉันแต่งงานกับผู้หญิงด้วยเช่นกัน และผู้ใดก็ตามที่หันหลังให้กับแนวทางของฉัน เขาย่อมจะไม่มีความสัมพันธ์อันใดกับฉัน” (หะดีษมุสลิม)
หะดีษดังกล่าวบ่งบอกถึงสาระสำคัญและแก่นแท้ของชีวิตตามอุดมคติที่อิสลามบัญญัติไว้ ตามทัศนะของอิสลามแล้วถือว่าชีวิตมิใช่คุกตะรางอันต่ำช้า มิใช่ถ้ำอันมืดมิดนอกจากนี้ชีวิตยังมิใช่สถานที่สำหรับการตักตวงความสุขที่ยอมให้บุคคลมีอิสระเสรีจนเกินขอบเขต ชนิดที่เรียกว่าบุคคลจะทำอะไรก็ย่อมได้แล้วแต่เขาจะปรารถนา ความจริงมันคือชีวิตที่จะต้องทำให้คุ้มค่าแก่การดำเนินชีวิตอยู่ บุคคลจะต้องพยายามดำเนินชีวิตอยู่ภายในขอบเขตทางศีลธรรมอันดีงาม เพราะฉะนั้นชีวิตตามอุดมคติของอิสลาม จึงไม่มีช่องว่างสำหรับการสับเปลี่ยนแรงกระตุ้นทางธรรมชาติและแรงกระตุ้นทางจิตวิญญาณ อิสลามมิได้มองชีวิตใน “ด้านลบ” พูดง่าย ๆ ก็คือในแบบที่เรียกกันว่าจะต้องมีการบำเพ็ญทุกขกิริยา หรือการทรมานตนนั่นเอง การสละที่แท้จริงนั้นได้แก่การแต่งงาน แต่แต่งแล้วจะต้องไม่สนใจการยึดติดกับโลกนี้
อิสลามเคี่ยวเข็ญให้มุสลิมดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความเข้มข้นและมีรสชาติ ในศาสนาอื่น ๆ ความเคร่งครัดศาสนาจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการปฏิเสธตนเองอันเป็นรสชาติของชีวิต ขณะที่อิสลามถือว่าภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็โดยที่ บุคคลทุ่มเทตนเองอย่างแน่วแน่และยินดีปรีดาไปกับอาวุธต่าง ๆ ของชีวิต แต่ก็มีข้อแม้ว่า จะต้องไม่ยอมให้การยั่วยวนทางโลกเข้ามามีอิทธิพลเหนือตนเองและไม่มีสิ่งใดที่เป็นความชั่วร้าย แรงกระตุ้นทั้งหลายนี้เป็นพลังสร้างสรรค์ที่ถูกประทานให้แก่มนุษย์โดยมีข้อแม้ว่า มนุษย์จะต้องนำเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ชีวิตพรตที่ศาสนาทั้งหลายถือว่าเป็นชีวิตตามอุดมคตินั้น มิใช่สิ่งที่อัลลอฮ. ศุบหฯ ทรงประสงค์ เพราะว่าความคิดอย่างนั้นทำให้คนเราเห็นแก่ตัวจนเกินไป จนเกิดการปฏิเสธความรับผิดชอบทางสังคม มันทำให้จิตใจกระด้างและยังยุยงส่งเสริมให้คนเราเกิดความรู้สึก “อกตัญญู” ต่อบรรดาคนใจพระหรือคนดีที่มีชีวิตอยู่ในสายใยผูกพันทางโลก มารดาทั้งหลายถูกละทิ้ง ภรรยาถูกปฏิเสธและเด็ก ๆ ทั้งหลายถูกทอดทิ้งให้อยู่กันตามลำพังเยี่ยงขอทานร่อนเร่ออกหาความเมตตาจากโลกนี้ พวกบำเพ็ญตะบะนี้สนใจ แต่เพียงความหลุดพ้นของจิตวิญญาณอย่างเดียว การบำเพ็ญตะบะอันสงบเงียบของเขาถือได้ว่าเป็น “ความเสียหาย” เพราะเหตุว่าหน้าที่ที่ง่ายที่สุด เช่น หน้าที่ต่อครอบครัว ชุมชน และรัฐไม่ได้รับความสนใจใยดีจากพวกที่ใฝ่แสวงหาความหลุดพ้นที่เห็นแก่ตัวเหล่านั้น
การแต่งงานเป็นหนึ่งในบทบาทอันสำคัญของชีวิตมนุษย์ การปฏิเสธการแต่งงานปรากฏอย่างชัดแจ้งจากผลลัพธ์อันเลวร้ายต่อไปนี้
1. การผิดประเวณีมีเพิ่มมากขึ้น
2. บทบาทในการป้องกันตนเองของครอบครัวถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในมือของตำรวจและองค์การทางสังคม
3. การพักผ่อนหย่อนใจภายในครอบครัวส่วนมากเปลี่ยนไปเป็นภาพยนตร์ กีฬา ละคร และล่าสุดก็ได้แก่โทรทัศน์
4. ครอบครัวสูญสลายไปเพราะการทำประกันชีวิตให้กับพ่อแม่ที่แก่ชรามากแล้ว (อ้างอิงจากหนังสือ The Sexual Wilderness ของ Vance Packard หน้า 228)
ท่านอุสมาน บุตรของมะชูนกล่าวว่า “โอ้ท่านรสูลแห่งอัลลอฮ. ได้โปรดอนุญาตให้ผมเป็นขันทีด้วยเถิด (เพราะว่าผมจะได้ไม่หลงไปทำผิดประเวณี)” ท่านรสูลแห่งอัลลอฮ.กล่าวตอบว่า “บุคคลใดก็ตามที่ทำคนอื่นให้เป็นขันที หรือบุคคลใดก็ตามที่ยอมให้ตัวเองเป็นขันที คนเหล่านี้ไม่ใช่พวกของเรา การถือศีลอดจะช่วยเรื่องดังกล่าวได้ ในท่ามกลางอุมมะฮ.ของฉัน” อุสมาจึงพูดว่า “ได้โปรดอนุญาตให้ผมดำเนินชีวิต ได้แก่การญิฮาดในหนทาง ของอัลลอฮ.” อุสมานกล่าวว่า “ชีวิตแบบนักบวชในประชาชาติของฉันนั้นประกอบด้วยการนั่งในมัสญิด แล้วรอคอยเวลาละหมาดนั่นเอง” (หะดีษ จากรัชห. อัส-สุนนะฮ.)
การแต่งงานเป็นหนึ่งในสุนนะฮของท่านรสูล ศ็อลฯ ถ้าไม่มีเหตุผลจำเป็นโดยแท้จริงแล้ว ห้ามมิให้คนเราปฏิเสธการแต่งงาน ใครเล่าจะเหนียมอายยิ่งไปกว่าสาวพรหมจรรย์ที่คลุมศีรษะ มีหะดีษวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “เครื่องหมอและภริยาถูกทำให้เป็นที่รักใคร่แก่ฉัน การละหมาดจะทำให้สายตาของฉันสงบลงได้”
ท่านรสูล ศ็อลฯ กล่าวไว้ในวาระอื่นมีความว่า “การปฏิบัติตัวของบรรดาศาสดาทั้งหลายนั้นมีอยู่ 4 ประการด้วยกัน ได้แก่ความพอประมาณ การใช้เครื่องหอม การแปรงฟัน และการแต่งงาน”
ท่านอบู ฮุรอยเราะฮ. รายงานว่าท่านรสูล ศ็อลฯ กล่าวว่า “มีอยู่สามสิ่งด้วยกันที่ใครปฏิบัติแล้วมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮ คือทาสที่นายยอมไถ่ตนเองเป็นอิสระ เมื่อทาสผู้นั้นประสงค์จะจ่ายเงิน บุคคลที่แต่งงานด้วยความปรารถนาที่จะดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์ และบุคคลที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ.” (หะดีษ ติรมีซี นะสาอีและอิบนุ มาญะฮ.)
ท่านอะลีรายงานจากท่านรสูล ศ็อลฯ ว่า “อาลี ! มีอยู่สามประการด้วยกันที่เจ้าจะต้องไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ได้แก่การทำละหมาดเมื่อเวลามาถึง การฝังศพ และการแต่งงงานของสตรีที่ยังไม่ได้สมรส เมื่อเธอพบบุคคลหนึ่งซึ่งอยู่ในขั้นเหมาะสมสำหรับเธอ” (หะดีษ ติรมิซี)


การแต่งงานในอิสลาม

เป้าหมายของการแต่งงานในทรรศนะของอิสลาม อิสลามได้บัญญัติเรื่องการแต่งงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีการสืบพันธุ์และรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ และเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้สร้างความสนิทสนม แน่นแฟ้น และผูกพัน และเพื่อให้แต่ละฝ่ายมีที่พังพิงและปรึกษาหารือในขณะที่เหน็ดเหนื่อยและทุกข์ยากกับการดำเนินชีวิต จนกระทั่งทั้งสองได้บรรลุถึงความรักใคร่และความเมตตา ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า

﴿وَمِنْ آيَاتِهِ أَنْ خَلَقَ لَكُمْ مِنْ أَنْفُسِكُمْ أَزْوَاجًا

لِّتَسْكُنُوا إِلَيْهَا وَجَعَلَ بَيْنَكُمْ مَوَدَّةً وَرَحْمَةً...الآية﴾
ความว่า: และบางสัญลักษณ์ของอัลลอฮฺ คือการที่พระองค์ทรงสร้างคู่ครองแก่พวกเจ้ามาจากตัวของพวกเจ้าเอง ทั้งนี้เพื่อพวกเจ้าจะได้สงบอยู่กับนางและพระองค์ทรงบันดาลความรักและความเมตตาให้มีขึ้นระหว่างพวกเจ้า...(อัรรูม : 21)
วิทยาปัญญาของการบัญญัติการแต่งงาน อัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ) ได้บัญญัติการแต่งงาน และถือว่าการแต่งงานเป็นรัฐธรรมนูญที่มั่นคงต่อการดำเนินชีวิตแห่งมนุษยชาติ โดยมีเป้าหมายอันประเสริฐที่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์ที่อัลลอฮฺทรงยกย่อง และได้วางบทบัญญัติให้เขายึดถือปฏิบัติ เพื่อเขาจะได้มีชีวิตที่ดีและออกห่างจากความต่ำช้าและไม่ออกจากแนวทางแห่งพระองค์ และเมื่อเราปรารถนาที่จะอธิบายถึงเป้าหมายของการแต่งงานในอิสลาม เราจะพบว่ามันไม่ได้หยุดอยู่ที่ความต้องการทางเพศเท่านั้น แต่มันมีเป้าหมายอื่นอีกเช่นทางด้านสังคมจิตใจและศาสนา

ส่วนหนึ่งจากเป้าหมายในการแต่งงาน:-
1. รักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้มั่นคงอยู่ต่อไป เพราะว่าการแต่งงานเป็นสื่อของการสืบพันธุ์ และการให้กำเนิดบุตรหลาน และการสืบทอดเผ่าพันธุ์หนึ่งหลังจากเผ่าพันธุ์หนึ่ง โดยดังกล่าวนี้ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยการมีสัมพันธ์กันอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งมันเป็นแนวทางที่ศาสนารังเกียจ อีกทั้งยังก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อกัน ท่านศาสดามูฮัมมัด (ศ็อลฯ) นั้นส่งเสริมการสืบเชื้อสายด้วยการแต่งงาน โดยมีรายงานตจากมะอฺก้อล บุตรยะซาร ว่า ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี (ศ็อลฯ) แล้วกล่าวว่า “โอ้ท่านรอซู้ล (ศ็อลฯ) ฉันได้พบผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นผู้หญิงที่ดี สวย และมีวงศ์ตระกูลดี และก็มีตำแหน่งเกียรติยศและร่ำรวย เว้นแต่ว่านางไม่สามารถมีลูก ฉันจะแต่งงานกับนางหรือ ?” ท่านนบีได้ห้ามเขา หลังจากนั้นเขาก็ได้กลับมาหาท่านนบีอีกเป็นครั้งที่สอง ท่านนบีก็ได้กล่าวเช่นเดิม หลักจากนั้นเขาก็ได้กลับมาหาอีกเป็นครั้งที่สาม ท่านนบีก็ได้กล่าวว่า “พวกเจ้าทั้งหลายจงแต่งงานกับหญิงที่รักที่มีลูกดกเพราะว่าเราปรารถนาที่จะให้พวกเจ้านั้นเป็นประชาชาติที่มีจำนวนมาก”2. การแต่งงานั้นคือรากฐานของครอบครัวที่มั่นคงและแข็งแกร่ง ซึ่งห้อมล้อมไปด้วยหน้าที่และสิทธิต่าง ๆ ด้วยกับความศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนา โดยที่เขามีความรู้สึกว่า การแต่งงานนั้นคือสายสัมพันธ์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้ความเป็นมนุษย์ของเขาสูงขึ้นและยังเป็นสายสัมพันธ์แห่งจิตวิญญาณที่สอดคล้องกับความสูงส่งของมนุษย์ที่แตกต่างจากความต่ำต้อยของสัตว์ที่ความสัมพันธ์ของมันระหว่างเพศผู้และเพศเมียคือความสัมพันธ์ทางอารมณ์ความใคร่เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น ความสัมพันธ์แห่งชีวิตคู่นั้นยังทำให้จิตใจสงบ และเพิ่มพลังให้แก่เขาในการทำศาสนกิจ และความสนิทสนมของเขากับภรรยานั้นยังทำให้เขานั้นผ่อนคลายและปลดเปลื้องความเหน็ดเหนื่อย ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจ มีชีวิตชีวา และจำเป็นสำหรับจิตใจของผู้ที่ยำเกรงที่เขาจะต้องพักผ่อนและผ่อนคลายด้วยกับสิ่งที่ศาสนาอนุญาต ดังกล่าวนี้ อัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้ในเรื่องการแต่งงานว่า
﴿لِتَسْكُنُوا إِلَيْهَا...الآية﴾
ความว่า:ทั้งนี้เพื่อพวกเจ้าจะได้สงบอยู่กับนาง (อัรรูม : 21)
3. การแต่งงานคือการสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจของมนุษย์ และทำให้จิตใจออกห่างจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ต้องห้าม โดยอนุญาตให้ทุกคนสนองความต้องการทางเพศไปในทางที่ถูกต้องตามศาสนบัญญัติ และละทิ้งการปล่อยอารมณ์ไปตามอำเภอใจ ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า
﴿وَأُحِلَّ لَكُم مَا وَرَاءَ ذلِكُم أنْ تَبْتَغُوا بِأَمْوالِكُمْ
مُحْصِنِيْنَ غَيْرَ مُسَافِحِيْنَ...الآية﴾
ความว่า: และพระองค์ทรงอนุมัติแก่พวกเจ้ากรณีอันนอกเหนือไปจาก (ที่กล่าวมา) นั้น เพื่อให้พวกเจ้าใช้ทรัพย์สินของพวกเจ้าแสวงหา (สตรีที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติให้สมรสด้วยได้) แบบการสมรส (ตามทำนองคลองธรรม)มิใช่แบบผิดประเวณี... (อันนิซาอฺ : 24)
และวจนะของท่านศาสดามูฮำมัดที่ว่า
يا مَعشَرَ الشَّبَابِ مَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمُ الْبَائَةَ فَلْيَتَزَوَّجْ فَإِنَّه أَغَضُّ

لِلبَصَرِ وَأَحْسَنُ لِلْفَرَجِ فَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَعَلَيْهِ بِالصَّومِ فَإِنَّهُ لَهُ وِجَاءٌ
ความว่า: โอ้บรรดาหนุ่ม ๆ ทั้งหลาย บุคคลใดที่มีความพร้อม (สามารถแต่งงานได้) ก็จงแต่งงานเถิด แท้จริงการแต่งงานนั้นจะทำให้สายตาลดต่ำลงและเป็นการรักษาอวัยวะเพศ ส่วนบุคคลใดก็ตามที่ไม่สามารถ ก็จงถือศีลอดเถิด แท้จริงการถือศีลอดนั้นจะปกป้องรักษาอวัยวะเพศ และสายตาให้พ้นจากความผิด
4. การแต่งงานคือการต่อสู้กับอารมณ์และฝึกฝนจิตใจในการดูแลและรักษาหน้าที่และเอาใจใส่ประโยชน์ของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิต่าง ๆ ของภรรยา บุตร และการดูแลเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูบุตร และอดทนต่อมารยาทของภรรยาจากความอุดสาหะที่จะปรับปรุงสภาพของนางและชี้แนะนางไปสู่แนวทางอันเที่ยงตรงของศาสนาอิสลาม และนี่คือส่วนหนึ่งของเป้าหมายและความสูงส่งอันยิ่งใหญ่ในการบัญญัติเรื่องการแต่งงานของอิสลาม ซึ่งหวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์และเข้าใจถึงธรรมชาติและความสอดคล้องของอิสลามกับการดำเนินชีวิตในโลกนี้
การแต่งงาน นั้น คือสิ่งที่อิสลามต้องการ และสั่งใช้ให้ทำการแต่งงาน เพราะการแต่งงานนั้นเป็นแบบฉบับของศาสดา ดังที่ท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า “แท้จริง ฉันคือผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์มากที่สุดในหมู่ของพวกสูเจ้า และเป็นที่ความตักวา ต่อพระองค์มากที่สุดในหมู่พวกสู่เจ้า แต่ทว่าฉันก็ยังถือศีลอด และละศีลอด และทำละหมาด (กลางคืน) และฉันก็นอนหลับพักผ่อน และฉันก็จะแต่งงาน ดังนั้นผู้ใดที่รังเกียจแบบฉบับ (ซุนนะฮ์)ของฉันเขาไม่ใช่คนหนึ่งจากผู้ที่เจริญรอยตามฉัน”
ด้วยเหตุดังกล่าว คนทุกคนที่ยอมรับตนเองว่าเป็นมุสลิมและยอมรับว่ามูฮำหมัด เป็นนบีของเขา เขาจะต้องแต่งงานเมื่อมีความสามารถ และมีเงื่อนไขครบทุกประการ
อัลลอฮ์ ได้กำหนดให้มีการแต่งงานเพื่อว่าประชาชาติต่าง ๆ จะได้มีผู้สืบเชื้อสายต่อไป เป็นการดำรงเผ่าพันธ์มนุษย์ไม่ให้สูญไปจากโลกอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ ท่านศาสดา กล่าวว่า ?แท้จริง ฉันจะรู้สึกภูมิใจกับ่จำนวนของพวกสูเจ้าที่มีมากกว่าประชาชาติอื่น ๆ (ในวันกิยามะฮ)?
นี่เป็นสิ่งที่ดี ทั้งนี้ก็เพราะว่าการแต่งงานนั้นมีประโยชน์หลายประการ ส่วนหนึ่งก็คือ มันสามารถทำให้จิตใจสงบสุขรักษาสายตาจากการมองสตรีอื่น พร้อมกับสร้างความรักใคร่ระหว่างสามีภรรยา ลูก ๆ และครอบครัว
อิบนุ ฮัซม์ กล่าวว่า “คนทุกคนที่มีความสามารถพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ วายิบต้องแต่งงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากว่าเขามีความสามารถพร้อม ถึงแม้ว่าเขาจะต้องแต่งงานกับเชลยศึกหญิง แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถที่จะแต่งงาน ให้เขาถือศีลอดให้มาก ๆ”
มีรายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน มัสอูดว่า ท่านศาสดา กล่าวว่า “โอ้บรรดาชายหนุ่มทั้งหลาย ผู้ใดจากพวกสูเจ้ามีความสามารถที่จะแต่งงาน เขาก็จงแต่งงานเถิด ทั้งนี้ก็เพราะว่าการแต่งงานนั้น ช่วยให้สายตาลดต่ำลง (มีความยำเกรงไม่ชายตามองสตรีอื่น) และปกป้องอวัยวะเพศ (การทำซินา) และผู้ใดที่ไม่มีความสามารถ (ที่จะแต่งงาน) เขาก็จงถือศีลอดเถิด แท้จริงมันจะเป็นเครื่องป้องกันสำหรับเขา”
เป็นที่ชัดเจนว่าการแต่งงาน หรือการสร้างครอบครัวนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำไปเพื่อความสุข และสนุกสนานเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ศาสนา เพื่อว่าบุคคลนั้น ๆ จะไม่อยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง
ดังที่รู้กันทั่วไปว่า ถ้าหากว่าคน ๆ หนึ่ง อยู่เป็นโสด แน่นอนชีวิตความเป็นอยู่ของเขาจะไม่มีระเบียบแผน อาหารการกิน และเรื่องอื่น ๆ ก็จะไม่มีคนคอยดูแลให้ และที่น่ากลัวที่สุดคือ นัฟซู และความต้องการทางเพศ
นัฟซูในเรื่องของอารมณ์ (ความต้องการทางเพศ) จะเพิ่มทวีขึ้นจนกว่ามันจะได้ถูกทำให้บรรเทาลง ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย ถ้าหากอีหม่านของคน ๆ หนึ่งไม่มั่นคงแข็งแรงพอแน่นอนเขาอาจจะทำสิ่งเลวร้ายได้ อาทิเช่น ทำซินา (ละเมิดประเวณี) หรือ อาจจะเลวร้ายถึงขั้นข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นหรือไม่ก็ไปยังสถานที่ขายบริการทางเพศ หรือไม่ก็ใช้วิธีการบำบัดความต้องการด้วยตนเอง
ในทัศนะของศาสนาแล้ว คนที่ชอบใช้บำบัดความต้องการด้วยตนเองนั้น เขามีบาปเท่ากับการทำซินา นอกจากนั้นมันอาจจะทำให้เกิดผลเสียทางด้านสุขภาพบางอย่าง เช่น หย่อน สมรรถทางเพศ เป็นต้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด การระบายความต้องการทางเพศโดยไม่ใช่กับคู่สมรสที่ศาสนาอนุมัติแล้ว ล้วนแต่ถือเป็นการกระทำที่ถูกสาบแช่งทั้งสิ้น ท่านศาสดา กล่าวว่า “ไม่มีการอยู่อย่างเป็นโสด (เหมือนนักพรต) ในศาสนาอิสลาม”
เป็นที่ชัดเจนว่า คนที่ตั้งใจอยู่เป็นโสดนั้น เท่ากับว่าเขาได้ทำการฮะราม (ต้องห้าม) สิ่งที่ศาสนาฮะลาล (อนุญาต) กล่าวคือ เขายอมยับยั้งความต้องการทางอารมณ์ และปล่อยให้มันมีสภาพเหมือนคนจำศีล ทั้ง ๆ ที่เขาสามารถที่จะแต่งงาน และบำบัดความต้องการทางด้านอารมณ์เพศได้ ด้วยกับวิธีที่ศาสนาอนุมัติ
ในซูเราะฮ์อัรรูม โองการที่ 21 อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า “และบางสัญญลักษณ์ของพระองค์ คือพระองค์บันดาลคู่ครองแก่พวกเจ้ามาจากตัวพวกเจ้าเองทั้งนี้เพื่อพวกเจ้าจะได้มีวามสุขอยู่กับนาง (ไม่เที่ยวคึกคะนองอีกต่อไป) และพระองค์บันดาลความรักใคร่ และความเมตตาให้มีขึ้นระหว่างพวกเจ้า (ฉันท์สามีภรรยา) แท้จริงในนั้น ย่อมเป็นสัญลักษณ์สำหรับกลุ่มชนที่ตริตรอง”
ดังนี้แหละที่อัลลอฮ์ ได้ทรงชี้แจงแก่พวกเราถึงฮิกมัด (เหตุผล) ของการสร้างมนุษย์ผู้ชาย และผู้หญิงขึ้นมา มันไม่ใช่เพื่อสิ่งอื่นใด นอกจากเพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ร่วมกันเป็นคู่ กล่าวคือ แต่งงานกัน และแน่นอนการอยู่ด้วยกันอย่างเป็นครอบครัวนั้น จะทำให้เกิดมีความรักใคร่ซึ่งกันและกันในหมู่พวกเขา
การแต่งงานของบุคคลหนึ่งนั้น คือการต่อสู้ขั้นสุดท้ายในชีวิตของเขา ถ้าหากว่าเขามีลูกหลานก็หมายความว่าเชื้อสายวงศ์ตระกูล จากเลือดเนื้อเชื้อไขของเขาก็จะดำรงสืบต่อไป แต่ถ้าหากว่าไม่มี ก็หมายความว่า เชื้อสาย วงศ์ตระกูลของเขาก็ยุติลงเพียงแค่ตัวของเขาเท่านั้น



ศาสนาใช้ให้เรามีคู่ครองไม่ให้เป็นโสด.
เรื่องของการมีครอบครัว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาสนาแนะนำ ศาสนาอิสลามไม่ยินดีที่ใครจะครองตัวอยู่เป็นโสด เพราะการมีครอบครัวหมายถึงการสร้างฐานะ สร้างความรับผิดชอบเพื่อแสดงออกมาให้เห็นว่า เราไม่ใช่มนุษย์ประเภทที่ชอบเอาตัวรอด
เมื่อได้มีโอกาสเกิดมาแล้วก็แล้วกัน ไม่ปรารถนาที่จะเกื้อกูลร่วมชีวิตกับใคร เพื่อให้วงศ์ตระกูลขยายเพิ่มพูนขึ้น เมื่อได้มีโอกาสเป็นลูกแล้ว ก็ไม่ต้องการไม่ปรารถนาที่จะมาเป็นพ่อหรือเป็นแม่ของเด็กที่ไหนอีก
องค์อัลเลาะฮฺ ศุบหฯ ทรงตรัสและนำให้บ่าวของพระองค์ทุกๆ คนหาทางมีครอบครัว หาทางนิกาห์ ไม่ให้ใครครองตัวอยู่เป็นโสด ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะฮ อันนูร อายะฮที่ 32-33 ว่า

وَأَنكِحُوا الْأَيَامَى مِنكُمْ وَالصَّالِحِينَ مِنْ عِبَادِكُمْ وَإِمَائِكُمْ إِن يَكُونُوا فُقَرَاء يُغْنِهِمُ اللَّهُ مِن فَضْلِهِ وَاللَّهُ وَاسِعٌ عَلِيمٌ
وَلْيَسْتَعْفِفِ الَّذِينَ لَا يَجِدُونَ نِكَاحاً حَتَّى يُغْنِيَهُمْ اللَّهُ مِن فَضْلِهِ وَالَّذِينَ يَبْتَغُونَ الْكِتَابَ مِمَّا مَلَكَتْ أَيْمَانُكُمْ فَكَاتِبُوهُمْ إِنْ عَلِمْتُمْ فِيهِمْ خَيْراً وَآتُوهُم مِّن مَّالِ اللَّهِ الَّذِي آتَاكُمْ وَلَا تُكْرِهُوا فَتَيَاتِكُمْ عَلَى الْبِغَاء إِنْ أَرَدْنَ تَحَصُّناً لِّتَبْتَغُوا عَرَضَ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَمَن يُكْرِههُّنَّ فَإِنَّ اللَّهَ مِن بَعْدِ إِكْرَاهِهِنَّ غَفُورٌ رَّحِيمٌ

ซี่งมีใจความว่า “และจงให้พวกเจ้าแต่งงานกับผู้เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า และกับคนดี ๆ จากปวงบ่าวผู้ชายของพวกเจ้า และบ่าวผู้หญิงของพวกเจ้า หากพวกเขายากจน อัลลอฮ์ทรงให้พวกเขาร่ำรวยขึ้นจากความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงไพบูลย์ ผู้ทรงรอบรู้ ”
“และบรรดาผู้ที่ยังไม่มีโอกาสแต่งงานก็จงให้เขาข่มความใคร่ จนกว่าอัลลอฮฺจะทรงให้พวกเขาร่ำรวยขึ้นจากความโปรดปรานของพระองค์ และบรรดาผู้ที่ต้องการจะไถ่ตัวให้เป็นอิสระจากผู้ที่มือขวาของพวกเจ้าครอบครอง พวกเจ้าจงทำสัญญากับพวกเขา หากพวกเจ้ารู้ว่าเป็นการดีกับพวกเขา และจงบริจาคแก่พวกเขาซึ่งทรัพย์สมบัติของอัลลอฮฺ ที่พระองค์ทรงประทานแก่พวกเจ้า และพวกเจ้าอย่าบังคับบรรดาทาสีของพวกเจ้าให้ผิดประเวณี หากนางประสงค์จะอยู่อย่างบริสุทธิ์ แต่พวกเจ้าต้องการผลประโยชน์แห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้ และผู้ใดบังคับพวกนางเช่นนั้น ดังนั้นหลังจากการบังคับพวกนาง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ ”
องค์พระผู้อภิบาลทรงตรัสให้บรรดาพวกเราทั้งหลาย มีครอบครัวมีคู่ครองเพื่อที่จะได้มีลูกมีหลานสืบสกุล มาสืบต่อศาสนา เพื่อมีผู้มารับมรดกจากผลงานที่เราสร้างทำสะสมเอาไว้ และไม่ใช่ว่าทรงกำชับให้พวกเราบรรดาเสรีชนทั้งหลายให้หาคู่ชีวิตเท่านั้นแต่ยังทรงกำชับถึงบรรดาบ่าวไพร่ ข้าทาสที่ใครครอบครองดูแลชีวิตของเขาเอาไว้ก็ต้องหาทางให้พวกเขาได้สมรสมีครอบครัวเช่นเดียวกันอีกด้วย ถึงแม้ใครจะยากไร้ขัดสน พระองค์ก็จะทรงประทานความเมตตาให้เขาได้มีฐานะดีขึ้นจากความโปรดปรานของพระองค์ สุดแต่พระองค์จะทรงประสงค์
ท่านศาสดานบีมุฮำมัด ได้ทรงกล่าวว่า ซึ่งมีใจความว่า ท่านศาสดาใช้ให้เราทั้งหลายแต่งงาน และท่านห้ามอย่างรุนแรงในการที่ใครจะครองตัวอยู่เป็นโสด (รายงานจากท่าน อะนัส รฎิฯ จากฮะดิษ อะห์มัด)
เรื่องของการมีครอบครัว เรื่องของสามีภรรยา เรื่องอย่างนี้ในหลายๆ ศาสนาเขาถือเป็นเรื่องน่ารังเกียจสำหรับคนที่เคร่งศาสนา พวกบาดหลวง นักบวชนักเผยแพร่ศาสนาของศาสนาอื่นๆ เขาไม่ยอมยุ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวไม่มีภรรยาไม่ยุ่งเรื่องทางเพศ เขาตัดตัวเองออกจากสภาพของความเป็นมนุษย์ นั่นเป็นทัศนะของเขาเราไม่เอามาพิจารณา เราไปห้ามเขาไม่ได้
สำหรับในศาสนาอิสลามเรา มุสลิมทุกคนถือศาสนากันได้อย่างเคร่งครัดแล้วเรามุสลิมทุกคนเราก็ยังสนับสนุนให้มีครอบครัว ให้สมรสมีภรรยามีลูกมีหลาน สามารถที่จะสืบต่อศาสนาได้อย่างสมศักดิ์ศรี แล้วยังสามารถครองชีวิตได้อย่างปกติธรรมดาของความเป็นมนุษย์ ทำมาหากินได้ รักษาบทบัญญัติของศาสนาได้ ดูแลรักเมตตาบุตรภรรยาได้ อบรมคนในครอบครัวก็ได้ สั่งสอนแนะนำทำแบบอย่างให้กับคนภายนอกก็ได้
ในศาสนาอิสลามนั้น ไม่ใช่แต่เพียงบุคคลธรรมดาๆ อย่างเราเท่านั้นที่ศาสนาใช้ให้มีครอบครัว แม้แต่องค์พระศาสดาก็ยังได้รบพระบัญชาจากองค์พระผู้อภิบาลให้ครองชีวิตอย่างสามัญชน มีบุตร มีภรรยา ทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาด้วย ทำมาหากินด้วย ให้แบบอย่างที่ดี ทั้งครองรัก ครองเรือน ครองบ้านเมือง สร้างแบบอย่างไว้ให้ดูเสร็จครบเรียบร้อย ไม่มีเรื่องไหนตกหล่นเอาไว้ให้ประชากรขวนขวายหาทางออก หรือทางรอดกันเอาเอง
องค์อัลเลาะฮฺ ศุบหฯ ทรงตรัสแจ้งไว้ในอัลกุรอานซูเราะฮฺ อัรเราะอฺดุ อายะฮฺที่ 38 ว่า

وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا رُسُلاً مِّن قَبْلِكَ وَجَعَلْنَا لَهُمْ أَزْوَاجاً

ความว่า “แท้ที่จริง เราได้แต่งตั้งบรรดารอซู้ลต่างๆ มามากมายก่อนจากสูเจ้า โอ้มุฮำมัด แล้วเราก็ได้ทำให้บรรดารอซู้ลทั้งหลายเหล่านั้นต่างมีคู่ครองและลูกหลานมากมาย”
ดังนั้นแม้แต่บรรดาพระศาสนทูตที่องค์อัลเลาะฮฺ ศุบหฯ ทรงแต่งตั้งมาประกาศเผยแผ่ศาสนา พระองค์ยังทรงให้ท่านเหล่านั้นมีคู่ครอง มีครอบครัว มีลูกหลานสืบสกุล แล้วพวกเราเป็นมนุษย์ธรรมดาที่องค์อัลเลาะฮฺ ศุบหฯ ทรงใช้ให้เราหาทางสืบสกุลโดยมีคู่ครองเหมือนกัน ไม่ใช้ใครอยู่ครองตัวเป็นมนุษย์เจ้าสำราญไม่ยอมรับผิดชอบ ไม่ยอมสร้างหลักฐานให้กับตนเอง เพราะคนที่ไม่มีครอบครัวทำอะไรไม่เป็นหลักเป็นฐาน
เรื่องของคนที่อยากมีคู่ คนที่อยากแต่งงานให้เป็นหลักฐาน อยากจะเลิกชีวิตแบบพ่อพวงมาลัย ลอยไปกับลอยมา คิดกล้าที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่น เรื่องนี้เป็นเรื่องของความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เพราะเรื่องของการมีครอบครัวเป็นหลักเป็นฐานนี้ คนที่ยังอยากทำตัวเป็นคนเจ้าสำราญ ไม่อยากมีความรับผิดชอบไม่กล้าที่จะร่วมชีวิตกับคนอื่น คนอย่างนั้นอาจจะเป็นคนที่มีปมด้อยอะไรในตัวเองซึ่งเราไม่สามารถที่จะล่วงรู้ไปถึงแก่นแท้ของชีวิตของเขาได้ที่เขาไม่กล้ามีครอบครัว
บางคนเขาก็อาจจะยังไม่กล้าที่จะทำมาหากินให้พัฒนาขึ้นเพื่อที่จะเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเองและเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของคู่ครองและของลูกๆ ที่จะเกิดตามมาในวันหน้า หลายคนพูดออกมาว่า เลี้ยงตัวเองยังเอาตัวไม่รอด แล้วจะไปหาใครมาเป็นคู่ชีวิตเพิ่มปากเพิ่มท้องเข้ามาอีก ความคิดเห็นอย่างนี้เป็นความคิดเห็นของคนที่ขี้ขลาด คนที่ไม่กล้าสู้ไม่กล้าทำในสิ่งที่มนุษย์ทั้งโลกเขากล้า ความคิดอย่างนี้จะต้องไม่มีอยู่ในมันสมองของผู้ที่เป็นมุสลิม เพราะเราต่างศรัทธากันอย่างไม่มีความแคลงใจสงสัยว่า ริสกีทรัพย์สินเงินทองข้าวปลาอาหาร องค์พระผู้อภิบาลจัดแจงมาให้เสร็จสำหรับทุกชีวิตที่พระองค์ทรงบันดาลให้เขาได้มาเกิดในโลกนี้ เราเพียงแต่มีหน้าที่ออกหาเท่านั้น รายได้จะมาหาเราเอง มากน้อยสุดแต่พระองค์จะทรงกำหนดมาให้เป็นคนๆ ไป
การที่คนเราหน้าตาแปลกๆ ชื่อแปลกๆ นามสกุลแปลกๆ นิสัยใจคอผิวพรรณ การอบรมศึกษาสิ่งแวดล้อมแปลกๆ ทั้งตระกูล ฐานะ ญาติแตกต่างกันออกไปแต่มารักกันได้ มารวมกันได้ มาเป็นคู่ครองกันได้ มาร่วมชีวิตกันได้มาร่วมทุกข์ร่วมสุขอยู่กินนอนร่วมกันได้เป็นเวลานานๆ จนกระทั่งตายจากกันไป ทิ้งลูกหลานเอาไว้แน่นตระกูล เรื่องนี้เป็นเรื่องของความมหัศจรรย์ของชีวิตมนุษย์ที่องค์พระผู้อภิบาลทรงเมตตาโอบอุ้มไว้ให้
คนมีศาสนา คนมีศรัทธาในหลักการของอิสลามเท่านั้นที่จะมีครอบครัวได้ด้วยความมั่นใจว่า เราจะไม่ถูกทอดทิ้งจากพระเมตตาปราณีจากองค์พระผู้อภิบาล ไม่มีสิ่งใดที่จะมาสูงส่งเท่าฮิดายะฮฺ การดลใจจากองค์อัลเลาะฮฺ ศุบหฯ ไม่มีสิ่งไหนที่จะมามีค่าเสมอเหมือนครอบครัวมุสลิมที่มีพ่อแม่ศรัทธาอีหม่านในความดี มีลูกที่เดินตามร่องรอยเท้าของพ่อแม่ในเรื่องของศาสนา
เรื่องอย่างนี้หนุ่มสาวของเราจะต้องเป็นคนหนึ่งที่แสวงหาคู่ครองให้ได้ในแนวทางนี้เพื่อชีวิตของเราจะได้ร่มเย็นทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ และเพื่อจะได้เป็นรากฐานให้กับชีวิตของลูกๆ ของเราในวันข้างหน้า อย่าสร้างหนทางที่ผิดๆ ไว้ให้ลูกๆ เดินตาม เพราะมันจะเท่ากับจูงเขาเข้านรก พาเขาหนีสวรรค์ เรื่องนี้ขอให้เราห่างไกลแสนไกล
การสู่ขอในทัศนะอิสลาม
ถาม การสู่ขอในทัศนะอิสลาม
ตอบ การสู่ขอเป็นระบบที่อิสลามได้วางไว้ ในด้านวิธีการแล้ว หญิงกับชายไม่อนุญาตให้ติดต่อกันได้ หรือไปไหนมาไหนด้วยกัน ท่านนบีมุหัมมัดกล่าวว่า อย่าให้ผู้หญิงกับผู้ชายอยู่ตามลำพัง 2 ต่อ 2 ยกเว้นบุคคลที่ 3 คือ ซัยฏอน แต่ต้องอาศัยผู้ใหญ่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเป็นผู้ช่วยเหลอ เสร็จแล้วให้ฝ่ายชายไปดูตัวฝ่ายหญิง ท่านนบี(ศ็อลฯ)ได้สอนว่า
ถ้าคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านได้สู่ขอผู้หญิงคนหนึ่ง ดังนั้น เขาสามารถที่จะดูในสิ่งมันเรียกร้องให้เขาเข้าสู่การนิกาห์ (ความสวย ทรัพย์สมบัติ วงศ์ตระกูล และศาสนา) ดังนั้น จงปฏิบัติสิ่งนี้ คือ สิ่งที่อิสลามได้สอนให้มองดูก่อนการแต่งงาน จะได้ไม่เสียใจหลังจากแต่งงาน หมายถึง การตกลงกันในการแต่งงานด้วยกับขอบข่ายของอิสลาม และสิ่งที่เรียกร้องให้ดูสตรีนั้น คือ ใบหน้า บ่งบอกถึงความสวยงาม ส่วนฝ่ามือบ่งบอกถึงรูปร่างของนาง
ด้วยเหตุนี้ การสู่ขอในทัศนะอิสลามจึงประกอบด้วย 2 ด้าน ด้านหนึ่งจากทางฝ่ายผู้ปกครอง และอีกด้านหนึ่งทางฝ่ายผู้ตกลงปลงใจในการครองคู่ ซึ่งจะสร้างความสุขขึ้นในครอบครัวและญาติมิตรรวมทั้งเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน
ขอบเขตการดูตัวมุสลิมะฮ์
คำถาม ผมได้อ่านฮะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ดีษหนึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้ชายดูตัวผู้หญิงที่เขาจะแต่งงานด้วยได้ คำถามของผมก็คือ การอนุญาตให้ผู้ชายดูตัวผู้หญิงที่เขาตั้งใจจะสู่ขอเธอเพื่อแต่งงานนั้นมีขอบเขตแค่ไหน จะอนุญาตให้ดูผมหรือศรีษะของเธอทั้งหมดเลยไช่หรือไม่
คำตอบ อัล ฮัมดุลิลาฮ์ แน่นอนชะรีอะฮ์ อิสลามียะฮ์ (กฎหมายอิสลาม) ได้สั่งให้ลดสายตา และการห้ามมองไปยังผู้หญิงแปลกหน้า (คือผู้หญิงที่สามารถแต่งงานกันได้) เพื่อให้ชีวิตมีความสะอาดและเป็นการปกป้องเกียรติยศ
กระนั้น ชะรีอะฮ์ ก็ยังได้ยกเว้นบางสถานการณ์ที่อนุญาตให้ดูผู้หญิงที่ไม่ใช่มะห์ร็อมได้ เนื่องจากความจำเป็นที่มิอาจเลี่ยงได้ และมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างของ
ข้อยกเว้นดังกล่าวคือ การที่ชายผู้ที่สู่ขอผู้หญิง ในเมื่อเรื่องที่จะเกิดขึ้นนี้ต้องอาศัยการตัดสินใจที่หนักแน่นอันเป็นเรื่องสำคัญต่อชีวิตทั้งหมดของชายและหญิงตัวบทที่นำมาใช้เป็นหลักฐานในการอนุญาตให้มองดูผู้หญิงที่จะไปสู่ขอมีดังต่อไปนี้1 รายงานจากญาบิร อิบนิ อับดุลลอฮ์ เราะฏิยัลลอฮ์ อันฮ์ กล่าวว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กล่าวว่า เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่วกท่านไปสู่ขอผู้หญิง หากเขาสามารถก็ให้ดูสิ่งที่จูงใจเขาให้แต่งงานกับนาง ก็จงกระทำเถิด
เขา กล่าวว่า ฉันได้สู่ขอหญิงสาวผู้หนึ่ง ฉันเคยถูกปกปิดไม่ให้เห็นนาง จนกระทั่ง ฉันได้เห็นนางในสิ่งที่จูงใจให้ฉันแต่งงานกับนาง แล้วฉันก็ได้แต่งงานกับนาง ปรากฏในสายรายงานอื่นว่า เขา กล่าวว่า ฉันได้สู่ขอหญิงสาวจากเผ่าบนี สะลิมะฮ์ แล้วฉันถูกปกปิดไม่ให้เห็นนางภายใต้ความกังวล จนกระทั่ง ฉันได้เห็นนางในสิ่งที่จูงใจให้ฉันแต่งงานกับนางแล้วฉันก็ได้แต่งงานกับนาง2 รายงานจากอบู ฮุรอยเราะฮ์ เราะฎิยัลลอฮ์ อันฮ์ กล่าวว่า ฉันเคยอยู่กับท่านนบีศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่าน แล้วแจ้งให้ท่านทราบว่า เขาได้แต่งงานกับหญิงสาวจากชาวอันศอรท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กล่าวกับเขาว่า “ท่านดูตัวนางแล้วหรือ เขากล่าวว่า “ยัง” ท่านกล่าวว่า“จงไปแล้วดูตัวนางแท้จริงในดวงตาของชาวอันศอรมีบางสิ่งอยู่”3 รายงานจากมุฆีเราะฮ์ บิน ซุอ์บะฮ์ เราะฎิยัลลอฮ์ อันฮ์ กล่าวว่า ฉันได้สู่ขอสตรีนางหนึ่ง จากนั้นท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้ถามว่า ท่านได้ดูนางแล้วหรือ) ฉันตอบว่า “ยังเลย” ท่านกล่าวว่า “ไปดูนางเถิด เพราะว่ามันเป็นการสมควรยิ่งในการที่จะทำให้ท่านทั้งสองเข้ากันได้” และในรายงานอื่นกล่าวว่า แล้วเขาก็ทำเช่นนั้นแล้วเขาจึงได้แต่งงานกับหล่อนเขาได้กล่าวถึงการเข้ากับหล่อนได้ดี4 รายงานจาก ซะฮ์ล์ บิน สะฮ์ด์ เราะฎิยัลลอฮ์ อันฮ์ กล่าวว่า มีสตรีนางหนึ่งได้มาหาท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม นางกล่าวว่า ”โอ้ เราะซูลของอัลลอฮ์ ฉันมายังท่านเพื่อเสนอตัวให้กับท่าน”ดังนั้นท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม จึงหันมาดูนาง และได้แหงนสายตาขึ้นมองตรง ๆ จากนั้นท่านได้ก้มศรีษะลงเมื่อสตรีนางนั้นเห็นว่าท่านเราะซูลไม่ได้ตัดสินใจใด ๆ ในตัวนางนางจึงได้นั่งลง ต่อจากนั้น ได้มีชายผู้หนึ่งจากเหล่าเศาะฮะบะฮ์ “ท่านเราะซูล หากว่าท่านไม่ได้มีความสนใจในตัวนาง ขอให้จัดการให้เธอแต่งงานกับฉันเถิด”
ทรรศนะของอุละมาฮ์เกี่ยวกับขอบเขตการมองดูหญิงสาวที่ถูกสู่ขอ อิมาม อัช ซาฟิอีย์ กล่าวว่า “เมื่อเขาต้องการจะแต่งงานกับสตรี ไม่อนุญาตสำหรับเขาที่จะมองดูใบหน้าของนาง ฝ่ามือทั้งสองของนาง โดยที่มีผ้าคลุมศรีษะอยู่ จะโดยการอนุญาตจากนางหรือไม่ก็ตาม อัลลอฮ์ ซุอฮานะฮ์ วะ ตะฮาลา ได้ตรัสไว้ว่า และอย่างเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้”
อิมาม อัน นะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ว่า เราเฎาะฮ์ อัฎ-ฎอลิบีน วะ อัมดะฮ์ อัล-มุฟตีน”เมื่อผู้ใดปปรารถนาที่จะแต่งงานกับสตรีนางหนึ่ง ก็ชอบให้ผู้นั้นมองดูนาง เพื่อที่เขาจะได้ไม่เสียใจ ในอีกทรรศนะหนึ่งเห็นว่า ไม่ถือว่าเป็นการชอบให้กระทำ เป็นเพียงแต่อนุญาตให้กระทำได้เท่านั้น”
ทรรศนะแรกนั้นถูกต้อง เนื่องจากฮะดีษต่าง ๆ นอกจากนี้ อนุญาตให้มีการมอง อย่าง พินิจ (หรือมองช้ำ) ไม่ว่านางจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ตาม
หากว่า การได้มองเช่นนี้เกิดขึ้นไม่ง่ายนัก ก็ให้เขาส่งสตรีนางหนึ่งไปพิจารณาหน้าตาและบอกลักษณะของนางให้เขาทราบ
สำหรับฝ่ายสตรีนั้น ก็สามารถมองดูฝ่ายได้ หากว่านางต้องการจะแต่งงานกับเขา เพื่อที่นางจะได้เกิดความชอบพอในตัวของเขา เช่นเดียวกับที่เขาเกิดความชอบพอในตัวนาง
ขอบเขตที่สามารถมองดูผู้หญิงได้ก็คือ ใบหน้า และฝ่ามือทั้งสองทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยไม่อนุญาตให้มองมากไปกว่านี้
อย่างไรก็ตาม ในทรรศนะของอิมาม อบู ฮะนีฟะฮ์ นั้นอนุญาตให้มองดูเท้าทั้งสอง รวมทั้งใบหน้าและฝ่ามือทั้งสอง
อิบนุ อะบีดีน ได้กล่าวไว้ในคำอธิบายเพิ่มเติมของเขาไว้ว่า “อนุญาตให้มองดูใบหน้า ฝ่ามือทั้งสอง และเท้าทั้งสอง ห้ามมองดูเกินไปกว่านี้” อิบนุ รุชด์ ได้นำมาอ้างไว้ตามที่คัดมาข้างต้นเช่นกัน
สำหรับในมัชอับของอิมาม มาลิก มีรายงานหลายกระแสดังเช่น ให้มองดูเฉพาะใบหน้าและฝ่ามือทั้งสองเท่านั้น หรือให้มองดูเฉพาะใบหน้า ฝ่ามือทั้งสอง และมือทั้งสองเท่านั้น ส่วนรายงานที่ได้จากอิมาม อะห์มัด มีหลายกระแส หนึ่งในรายงานดังกล่าวก็คือ ให้มองดูใบหน้าและมือทั้งสองของนาง
ทรรศนะดังกล่าวนี้ อิมาม อิบนุ กุดามะฮ์ ได้กล่าวถึงไว้ในหนังสือ อัล มุฆนีย์ 7/545, อิมาม อิบนุ กอยยิม อัล เญาซียะฮ์ ในหนังสือ ตะฮ์ซีบ อัส-สุนัน 3/25-26, และอัล ฮะฟิซ อิบนุ ฮะญัร ในหนังสือ ฟัตหลุ บารียุ 11/78ทรรศนะต่าง ๆ ข้างต้น ได้ชี้แจงอย่างชัดเจนแล้วว่า บรรดาอุละมาอ์ส่วนใหญ่อนุญาตให้ผู้สู่ขอมองดูใบหน้าหญิงที่จะถูกสุ่ขอได้ รวมทั้งฝ่ามือทั้งสองด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่าใบหน้าสามารถมองเห็นถึงความขี้เหร่หรือความงามได้ ส่วนฝ่ามือทั้งสองสามารถชี้ให้เห็นถึงทรวดทรงที่ผอมบางหรืออ้วนท้วนได้
อบุล ฟัรจญ์ อัล มุก็อติชียุ ได้กล่าวว่า “ไมมีการคิลาฟ (ขัดแย้ง) ระหว่างบรรดาผู้ทรงความรู้ ในการอนุญาตให้มองดูใบหน้าของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งความงาม และเป็นจุดรวมแห่งการมอง”
ดูตัวมุสลิมะฮ์พร้อมกัน หลาย ๆ คนได้ หรือไม่
คำถาม อนุญาตให้ผู้ชายมุสลิมดูตัวผู้หญิงจำนวนมากโดยวัตถุประสงค์เพื่อการแต่งงานได้หรือไม่ หรือว่าเขาต้องดูแลคนแรกก่อน เมื่อเขาไม่ชอบก็ให้ดูคนต่อไป
คำตอบ การมองดูผู้หญิงที่จะสู่ขอเป็นสิ่งที่อนุญาตเนื่องจากความจำเป็นที่จะให้ความรู้สึกของผู้สู่ขอมีความมั่นใจและสงบนิ่ง(มั่นใจ) อีกทั้งเป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ ดังที่ปรากฏอยู่ในฮะดีษของอัล มุฆีเราะฮ์และคนอื่น ๆ การอนุญาตนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1 เขาต้องมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะแต่งงาน 2 ต้องไม่มีการคุลวะฮ์ (การอยู่กันสองต่อสองในที่ลับตาคน) 3 ต้องปลอดจากฟิตนะฮ์ (การล่อลวงอันนำไปสู่บาปต่าง ๆ) 4 ขอบเขตของการมองดูต้องไม่เกินไปกว่าสิ่งที่ซะรีอะฮ์ตามหลักการนี้ จะไม่อนุญาตให้มองดูผู้หญิง เว้นแต่ต้องมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะแต่งงานกับนาง หากเขาพอใจนางก็ดำเนินการนิกาฮ์ หากไม่เป็นที่พึงพอใจก็ให้เปลี่ยนไปดูคนอื่น ต่อไป
คำถาม ควรเลือกสตรีที่จะมาเป็นภรรยาในลักษณะใด
คำตอบ คุณลักษณะของสตรีที่ควรเลือกเป็นภรรยานั้นมี 4 ประการ1 เนื่องจากทรัพย์สินของนาง2 เนื่องจากเชื้อสายวงศ์ตระกูล3 เนื่องจากความสวยงามของนาง4 เนื่องจากศาสนาของนาง
คำถาม ควรเลือกผู้ชายที่จะมาเป็นสามีในลักษณะใด
คำตอบ ผู้ชายที่มีความตักวา (ยำเกรง) ต่ออัลลอฮ์ ซึ่งถ้าหากว่าเขารักเธอ เขาก็จะให้เกียรติเธอ และถ้าหากเขาไม่รักเธอเขาก็จะไม่ทำการกดขี่เธอ (จากอัลฮะดีษ)
คำถาม สตรีใดที่ศาสนาห้ามไม่ให้ทำการแต่งงานด้วยตลอดกาล
คำตอบ สตรีที่ห้ามไม่ให้ทำการแต่งงานด้วยนั้นมีอยู่ 3 กลุ่มคือ
1 กลุ่มที่ห้ามทำการแต่งงาน เนื่องจากความสัมพันธ์ทางสายเลือด อันได้แก่ พ่อ, แม่, ยาย, ลูก, หลาน, เหลน, พี่สาว, น้องสาว, ป้า, น้า และอา เป็นต้น2 กลุ่มที่ห้ามทำการแต่งงาน เนื่องจากร่วมดื่มนมจากหญิงที่เป็นแม่นมคนเดียวกัน (รอดออะฮ์)3 กลุ่มที่ห้ามทำการแต่งงาน เนื่องจากการมีความสัมพันธ์ เกี่ยวดองกันอันเนื่องมาจากการแต่งงาน อาทิเช่น แม่ยาย, แม่ของแม่ยาย และที่อยู่ในลำดับที่สูงขึ้นไป, ลูกสะใภ้ และ ลูกสาวของภรรยา (ลูกเลี้ยง) เป็นต้น
ดูดนมครั้งเดียวมีผลในการห้ามแต่งงานหรือไม่?
ดูดนมครั้งเดียวมีผลในการห้ามแต่งงานหรือไม่?
ถาม เป็นที่อนุญาตให้ฉันแต่งงานกับหญิงที่ฉันดูดนมแม่ของเขาครั้งหนึ่ง โดยที่หญิงนั้นมิได้ดื่มนมจากแม่ของฉันเลยหรือไม่?ตอบ ตามแนวทางของมัสฮับซาฟีอีย์ การแต่งงานกับผู้ที่ดื่มนมจากแม่นมคนเดียวกันนั้นเป็นต้องห้าม ทั้งนี้หากครบเงื่อนไขห้าประการ คือ.-

1. ดูดห้าครั้ง

2. แต่ละครั้งมีระยะห่างกัน

3. ดูดจนอิ่มทุกครั้ง

4. ผู้ที่ดื่มมีอายุอยู่ในระหว่างสองขวบ

5. ยังไม่กินสิ่งอื่นเป็นอาหารหนัก

ดังนั้น จากคำถามข้างต้น จึงเข้าใจได้ว่า ไม่เป็นที่ต้องห้ามที่จะแต่งงานกัน ดังที่พระนางอาอีซะฮ์กล่าวว่า ท่านนะบีมูฮัมหมัด กล่าวว่า“การดื่มนมเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้งนั้น ไม่เป็นที่ต้องห้ามการแต่งงาน”
ถาม หญิงกับชายที่ร่วมดื่มนมจากแม่คนเดียวกัน มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ห้ามทำการนิกาหกันตอบ มีเงื่อนไข 2 ประการ คือ1 ดื่มนมร่วมกัน 5 ครั้ง ครั้งละ 1 อิ่ม2 ผู้ดื่มจะต้องอายุระหว่าง 2 ขวบเท่านั้น
ถาม ผู้หญิงที่แต่งงานให้กับตัวเองมีลักษณะอย่างไร
ตอบ ผู้หญิงที่แต่งงานให้กับตัวเองนั้น ท่านนบีมุหัมมัด (ศ็อลฯ)ได้กล่าวว่า ผู้หญิงไม่แต่งงานให้กับผู้หญิงและผู้หญิงไม่แต่งงานให้กับตัวเองเพราะแท้จริง ผู้หญิงที่ทำซินาคือ ผู้หญิงที่แต่งงานกับตัวเองดังนั้น ลักษณะของผู้หญิงที่แต่งงานให้กับตัวเองโดยไม่เปิดเผยหรือไม่มีวะลีย์ ถือว่าเป็นลักษณะของการทำซินา
ไม่ควรทาบทามแต่งงานกันส่วนตัว ระหว่างชายหญิง โดยวิธีที่ขัดกับซะรีอะฮ์
คำถาม อยากทราบวิธีการที่จะเข้าทาบทามพี่นองมุสลิมะฮ์ที่เราต้องการจะแต่งงานด้วย ผมรู้จักพี่น้องมุสลิมะฮ์คนนี้ ผมรู้จักพี่น้องมุสลิมะฮ์คนนี้ เหมือนเธอเป็นพี่น้องของผม เนื่องจากผมรู้จักเธอมาเป็นเวลายาวนาน เธอให้เกียรติผมเป็นอย่างมาก ผมไม่รู้วิธีการที่จะบอกเธอถึงความต้องการที่ผมอยากจะแต่งงานกับเธอ เช่นเดียวกันที่พ่อและอาผู้หญิงของผมก็อยากให้ผมแต่งงานกับเธอ ผมจะทำอย่างไรดี
คำตอบ หากคนหนึ่งคนใดที่จิตใจของเขารักชอบต่อผู้หญิงคนหนึ่งคนใด เขาก็ต้องหาช่องทางให้เป็นไปตามที่ซะรีอะฮ์อนุญาตนั่นคือ การจัดการแต่งงานหากว่าชายคนหนึ่งตั้งใจแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่ง ก็จำเป็นที่เขาต้องทำการสู่ขอผ่านวลี(ผู้ปกครอง) ของนางอันได้แก่ บิดา ของนาง หากว่าบิดาของนางยังมีชีวิตอยู่ หรือบุคคลอื่น ๆที่เหมาะสมจากบรรดาญาติที่ใกล้ชิดนาง (ตามหลักการลำดับขั้นของวลีในอิสลาม)
ไม่อนุญาตให้เขาทำการทาบทามสู่ขอผู้หญิงโดยวิธีการที่ขัดกับซะรีอะฮ์ ด้วยการทำความรู้จักกับนางเอง หรือการออกไปพบปะกับนางอย่างต่อเนื่อง หรือการติดต่อหรือพูดคุยกับนางผ่านทางโทรศัพท์อย่างมากมาย นี่เป็นวิธีการของอิบลิสที่ใช้ชักจูงผู้คนไปสู่การทำบาป คนที่ทำเช่นนี้ตกไปสู่ผลร้ายที่น่าตำหนิ
เราไม่อาจยอมรับคำพูดของคนบางคนที่สร้างความชอบธรรมให้กับความสัมพันธ์ของเขากับผู้หญิง ด้วยเหตุผลว่า เธอเป็นเหมือนน้องสาว หรือข้ออ้างอื่น ๆ
ดังนั้น ขอให้ท่านเข้าบ้านทางประตู และเดินผ่านช่องทางของซะรีอะฮ์ด้วยการทาบทามเพื่อแต่งงานกับผู้หญิงคนนี้ ถือว่าไม่เสียหายแต่ประการใดในขณะที่ท่านสู่ขอนางและเพื่อที่จะทำให้นางนั้นโน้มเอียงมาชอบพอท่านและเร่งเร้าให้นางตกลงปลงใจกับท่าน ก็ให้ท่านมอบของขวัญให้กับนางผ่านวลี (ผู้ปกครอง) ของนาง ฉันขอดุอาอ์ต่อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮ์ วะ ตะอาลา ให้ท่านกับเราประสบความสำเร็จ และให้ห่างไกลจากสิ่งต้องห้ามต่าง ๆ และอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮ์ วะ ตะอาลา คือผู้ประทานความสำเร็จข้อชี้ขาด ว่าด้วยการสัมผัสตัวสตรีที่ถูกขอ และการอยู่ตามลำพังกับนางสองต่อสองอัช ซัชลาอีย์ กล่าวว่า “ไม่อนุญาตให้สัมผัสใบหน้าและฝ่ามือทั้งสองของนาง “ แม้ว่าจะไม่มีอารมณ์ใคร่ก็ตาม เนื่องจากเป็นสิ่งต้องห้าม และไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลย”
ในดาร์ อัล บิฮาร์ กล่าวไว้ว่า “ไม่อนุญาตให้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็นตุลาการ พยาน และผู้สู่ขอ แม้ว่าจะปลอดจากอารมณ์ใคร่ เพราะไม่มีความจำเป็นใด ๆ”
อิบนุ กุดามะฮ์ กล่าวว่า “ไม่อนุญาตให้มีการคุลวะฮ์ กับนาง เพราะนางนั้นยังเป็นสตรีที่ต้องห้ามอยู่ชะรีอะฮ์อนุญาตให้เพียงแค่การมองดู แต่นางยังคงอยู่ในฐานะต้องห้ามอยู่ เพราะว่าไม่มีอะไรรับประกันว่าการอยู่ตามลำพังชายหญิงจะไม่เกิดสิ่งต้องห้ามขี้นดังนั้นท่านนบีศ็อลลัลลอฮ์อะลัยฮิวะซัลลัมจึ่งได้กล่าวว่าชายหญิงอย่าอยู่ตามลำพังสองต่อสอง เพราะว่าชัยฎอนจะเป็นบุคคลที่สามนอกจากนี้ไม่ให้มองดูนางด้วยกิเลสตัณหาอารมณ์ใคร่ และด้วยท่าทีที่น่าเคลือบแคลง
อิมาม อะห์มัด กล่าวไว้ในรายงานของศอลิห์ “ให้มองดูใบหน้า แต่ไม่ใช่วิธีการแห่งราคะ เขามองดูนางซ้ำ ๆ ได้ เขาสามารถพิจารณาความงามของนางได้เพราะว่าเป้าหมายนี้ไม่สามารถบรรลุได้เว้นแต่ด้วยวิธีนี้”การอนุญาตให้ผู้มาสู่ขอมองดู
อนุญาตให้ผู้ที่ต้องการสู่ขอมองดูสตรี แม้ว่านางจะไม่อนุญาตหรือนางไม่รู้ตัวก็ได้ อันนี้มีหลักฐานชี้ชัดปรากฏอยู่ในฮะดีษที่เศาะฮีอ์
อัล ฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวไว้ใน ฟัตอ์ อัล บารีย์ ไว้ว่า “ญุมฮูร ได้มีทรรศนะวา อนุญาตให้มองดูนาง หากเขาต้องการ โดยไม่ต้องมีการอนุญาตจากนาง”
ชัยค์ อัล มุฮัดดิษ มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล อัลบานีย์ ได้กล่าวไว้ใน อัซ ชิลชิละฮ์ อัศ เศาะฮีฮะฮ์ โดยสนับสนุนทรรศนะนี้เอาไว้ว่า ?มีหลักฐานที่คล้ายคลึงในคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ในฮะดีษที่ว่าแม้ว่าหล่อนจะไม่ทราบก็ตามวิธีการนี้ได้รับการสนับสนุนจากการกระทำของบรรดา เศาะฮาบะฮ์ ที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้แก่การกระทำของ มุฮัมมัด อิบนิ มุสลิมะฮ์ ญาบิร อิบนิ อับดิลลาอฮ์ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายที่ถูกปิดซ่อนไว้ จะได้มองดูในสิ่งที่เชิญชวนไปสู่การนิกาฮ์ได้?
ชัยค์ อัล อัลบานีย์ ได้กล่าวไว้ในการอ้างอิงก่อนหน้านี้เอาไว้ว่า มีรายงานจากอะนัส เราะฎิยัลลอฮ์ อันฮ์ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ต้องการจะแต่งงานกับสตรีนางหนึ่ง ท่านจึงได้ส่งสตรีผู้หนึ่งไปดูตัว โดยท่านกล่าวว่า เธอจงดมฟันแถวหน้าของหล่อน(ปาก) และจงมองดูด้านหลังของตาตุ่มของหล่อน (เอ็นร้อยหวาย)
การเลือกสตรีมาเป็นภรรยา
ศาสนาอิสลามได้ให้คำแนะนำบางประการ ในการเลือกสตรีเพื่อมาเป็นภรรยา เพื่อว่าชีวิตคู่ของสามีภรรยานั้น ๆ จะประสบกับความสุขในชีวิตการแต่งงานตลอดไป อิสลามได้เรียกร้องให้คู่สามีภรรยารักใคร่ มีความเมตตาซึ่งกันและกัน และจากการร่วมชีวิตคู่นี้ จะเป็นการสืบสานวงศ์ตระกูลสืบต่อไป
ภรรยา คือบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในครอบครัว นอกจากจะเป็นผู้ให้กำเนิดบุตรเพื่อสืบสกุลแล้ว ภรรยายังจะต้องเป็นผู้ที่อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่ลูก ๆ สอนให้เขารู้ถึงขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วัฒนธรรม และหลักคำสอนของศาสนา
ดัวยเหตุดังกล่าวนี้ อิสลามจึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการเลือกสตรีเพื่อมาเป็นภรรยา และให้บรรดาผู้ชายให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้ ในการเลือกสตรีมาเป็นภรรยานั้น เราต้องให้ความสำคัญในเรื่องศาสนา และการยึดมั่นต่อศาสนา และหลักจริยธรรมของนาง หรืออีกนัยหนึ่งนางควรจะเป็นสตรีที่ซอและห์ ส่วนประเด็นอื่น ๆ นั้นเป็นเพียงองค์ประกอบเพิ่มเติมเท่านั้น
โดยปกติแล้ว การเลือกสตรีมาเป็นภรรยานั้น ผู้ชายมักจะให้ความสนใจ เฉพาะเรื่องทรัพย์สิน, ความงดงาม, รูปร่างหน้าตา, ฐานะ และครอบครัวของสตรีเท่านั้น โดยไม่ให้ความสนใจในของศาสนา, จริยธรรม และความดีงามของจิตใจของนางเลย ท่านศาสดา ได้กล่าวเตือนไว้ว่า ?จงอย่างแต่งงานกับบรรดาสตรี เนื่องจากความงดงามของพวกนาง บางที่ความงดงามของพวกนางนั้น อาจก่อให้เกิดความเสียหาย และจงอย่าแต่งงานเนื่องจากทรัพย์สินของพวกนาง บางทีทรัพย์สินอาจจะทำให้เขากระทำการฉ้อฉล แต่จงแต่งงานกับพวกนางเนื่องจากศาสนาของพวกนาง แท้จริงทาสหญิงผิวดำที่ขี้เหร่ แต่มีศาสนานั้นย่อมดีสำหรับเขา?
คำตักเตือนของท่านศาสดานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อห้ามปรามไม่ให้ยึดเอาแต่เรื่องทางดุนยาเป็นเป้าหมายหลักของการแต่งงานเท่านั้น ถ้าเรายึดแต่ประเด็นทางโลกดุนยาเท่านั้น ความหมายของการแต่งงานเพื่อร่วมชีวิตกันอย่างรักใคร่ สมานฉันท์ระหว่างสามีภรรยา ก็คงจะไม่บรรลุผลแห่งการครองเรือน
ท่านศาสดา ได้กำหนดแนวทางไว้ว่า ?สตรีที่ซอและห์ที่ดีที่สุดนั้นก็คือ ภรรยาที่เมื่อสามีของนางเห็นนาง เขาก็รู้สึกปลื้มปิติยินดี เมื่อเขาใช้นางให้ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดนางก็ปฏิบัติตามคำสั่ง เมื่อนางถูกใช้ให้ทำการสาบานเกี่ยวกับตัวนางเอง นางก็ยึดมั่นคำสาบานนั้น และถ้าหากว่าสามีอยู่ห่างไกล นางก็รักษาเกียรติ และทรัพย์สินของสามี? หมายความว่า สตรีที่จะมาเป็นภรรยานั้น ควรต้องมาจากวงศ์ตระกูลที่ดี มีสติปัญญา สุขุมรอบคอบ และไม่มีความเสื่อมทรามทางจิตใจ โดยทั่วไปแล้วการมีเชื้อสายวงศ์ตระกูลที่ดีนั้นก็มักจะให้ลูกหลานที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน
ดังนั้นเพื่อให้ได้เชื้อสายที่ดี ผู้ชายควรที่จะพิจารณาสตรีที่เขาต้องการจะแต่งงานด้วยนั้นว่า มาจากเชื้อสายวงศ์ตระกูลใด นอกจากนั้นอิสลามยังใช้ให้ฝ่ายชายดูสตรีที่เขาจะแต่งงานด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าไม่บกพร่องใด ๆ อันอาจจะนำไปสู่การหย่าร้างในภายหลัง
มีรายงานจากท่านญาบีร บินอับดุลลอฮ์ ว่าท่านศาสดา กล่าวว่า “เมื่อคนหนึ่งใดในหมู่พวกเจ้า จะทำการสมรสกับผู้หญิงคนหนึ่ง ถ้าหากว่าเขาสามารถเห็นนางอันจะทำให้เขาปรารถนาจะสมรสกับนางยิ่งขึ้นแล้ว ก็จงกระทำเถิด”
มุฆีเราะฮ์ บิน ซุอ์บะฮ์ เคยต้องการที่จะแต่งงานกับหญิงคนหนึ่ง และเขาได้แจ้งว่าให้ท่านศาสดา ทราบ ท่านศาสดา ถามว่า ?เจ้าได้เห็นนางแล้วหรือยัง? มุฆีเราะฮ์ ตอบว่า “ยัง? ท่านศาสดา จึงกล่าวว่า “ท่านจงไปดู (หน้าของ) นางก่อนเถิด เพราะแท้จริงมันจะช่วยทำให้ความรักระหว่างท่านทั้งสองยั่งยืน” แท้จริงความสวยงาม ความร่ำรวย และวงศ์ตระกูลของบุคคล ๆ หนึ่งนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งจากปัจจัยทางโลกดุนยาเท่านั้น ซึ่งท่านศาสดา ไม่ปฏิเสธว่าไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดี ท่านศาสดา กล่าวว่า “สตรีนั้นถูกแต่งงานด้วย เนื่องจากสาเหตุ 4 ประการ เนื่องจากทรัพย์สินของนาง, วงศ์ตระกูลของนาง, ความสวยงามของนาง และเนื่องจากศาสนาของนาง จงเลือกแต่งงานด้วยสตรีที่มีศาสนา และสูเจ้าจะปลอดภัย”



อะไรคือเงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นภรรยา
คำถาม อะไรคือเงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นภรรยาคำตอบ เงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นภรรยา มี 6 ประการ1 นับถือศาสนาอิสลาม2 ไม่อยู่ในระหว่างการครองเอียะห์รอม3 ไม่ใช่ภรรยาของผู้อื่น4 ไม่อยู่ระหว่างอิดดะฮ์5 ไม่ใช่มะห์รอมของชายที่จะมาเป็นสามี6 ต้องเป็นผู้ที่ถูกกำหนดว่าจะเป็นภรรยาของชายที่จะเข้าสู่พิธีแต่งงานด้วย
การแต่งงานกับสองพี่น้องหญิงในเวลาเดียวกัน
ถาม ผู้ชายจะแต่งงานกับสองพี่น้องหญิงในเวลาเดียวกันได้หรือไม่?ตอบ บรรดาปวงปราชญ์ ศอฮาบะฮ์ ตาบิอีนอะอิมมะฮ์ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต่างมีทัศนะสอดคล้องกันว่า การแต่งงานกับหญิงสองพี่น้อง เป็นภรรยาร่วมกันในเวลาเดียวกันนั้น เป็นที่ต้องห้าม ดังนั้น หากแต่เดิมมิได้เป็นมุสลิม เมื่อเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม จำเป็นต้องเลือกไว้เป็นภรรยาคนหนึ่ง แล้วหย่าอีกคนหนึ่ง ท่านอีหม่ามอะห์มัดได้รายงานจากอัฎฎอฮาก บิน เฟรูส จากบิดาของเขาว่า ฉันได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่ฉันมีภรรยาสองคนซึ่งเป็นพี่น้องกัน ท่านนะบีมูฮัมมัด ได้ใช้ให้ฉันหย่าคนหนึ่ง
ผู้ที่ห้ามแต่งงานกัน ดังรายละเอียดจากอัล-กุรอาน
ที่ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้าคือมารดาของพวกเจ้า ลูกผู้หญิงของพวกเจ้า ที่น้องหญิงของพวกเจ้า พี่น้องหญิงแห่งบิดาของพวกเจ้า และพี่น้องหญิงแห่งมารดาของพวกเจ้า บุตรหญิงของพี่หรือน้องชายของพวกเจ้า และบุตรหญิงของพี่หรือหญิงของพวกเจ้า และมารดาของพวกเจ้าที่ให้นมแก่พวกเจ้า และพี่น้องหญิงของพวกเจ้า เนื่องจากการดื่มและมารดาภรรยาของพวกเจ้า และลูกเลี้ยงของพวกเจ้าที่อยู่ในตักของพวกเจ้า จากภรรยาของพวกเจ้าที่พวกเจ้าไม่ได้สมสู่นาง แต่ถ้าพวกเจ้าสมสู่นางแล้ว ก็ไม่เป็นบาปใด ๆ แก่พวกเจ้า และภรรยาของบุตรพวกเจ้าที่มาจากเชื้อสายของพวกเจ้า และการที่พวกเจ้ารวมระหว่างหญิงสองพี่น้องไว้ด้วยกัน นอกจากได้ผ่านพ้นไปแล้วเท่านั้น แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ
ผู้ที่ห้ามแต่งงาน 1. มารดา รวมถึงย่าและยายด้วย 2. ลูกสาว รวมถึงหลานและเหลนด้วย 3. พี่น้องผู้หญิงพ่อแม่เดียวกัน 4. พี่น้องผู้หญิงพ่อเดียว 5. พี่น้องผู้หญิงแม่เดียวกัน 6. ลูกสาวของพี่หรือน้องฝ่ายชาย (หลานสาว) 7. ลูกสาวของพี่หรือน้องฝ่ายหญิง (หลานสาว) 8. แม่นม 9. พี่น้องแม่นมเดียวกัน เนื่องจากการดื่มนมร่วมกันทำให้เป็นพี่น้องประดุจสาย เลือดเดียวกัน 10. มารดาภรรยา (แม่ยาย) 11. ลูกสะใภ้ 12. พี่สาวหรือน้องสาวภรรยา
หมายเหตุ หากมีการนิกะห์กับมารดา แต่ไม่มีการร่วมหลับนอนกัน ต่อมาได้หย่าขาดจากกัน อนุญาตให้แต่งงานกับบุตรสาวได้ หากร่วมหลับนอนกันแล้ว ถึงแม้จะเลิกกัน ก็ไม่อนุญาตให้แต่งงานกับบุตรสาวของนางอีก
กรณีการแต่งงานทั้งพี่สาวและน้องสาวภรรยา เคยเป็นที่อนุญาตในอดีต แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่อนุญาต
กรณีการร่วมนม การดื่มนมจากแม่นมคนใดก็ตาม ถือว่า ผู้นั้นเป็นพี่น้องร่วมนมกับลูกของแม่นมโดยสมบูรณ์ แม่นมและสามีของนางเปรียบเสมือนแม่และพ่อแท้ ๆ จึงห้ามแต่งงานด้วย ลูกของนางก็เช่นกัน แต่พี่น้องของผู้ที่ดื่มนมจากแม่นม ไม่มีข้อห้ามที่จะแต่งงานกับลูกของแม่นม
กรณีการแต่งงานระหว่างน้ากับหลาน มีหะดิษจากท่านบุคอรีและมุสลิม ระบุเรื่องห้ามนี้ไว้
องค์ประกอบและเงื่อนไขของการแต่งงาน
คำถาม รูก่น (องค์ประกอบ) ของการทำสัญญา (อักด์) แต่งงานมีอะไรบ้าง ๆ และมีเงื่อนไข (ชัรฎ) อะไรบ้าง
คำตอบ อัล ฮัมดุลิลลาฮ์ รูก่น (องค์ประกอบ) การแต่งงานนั้นมี 3 ประการประการที่ 1 ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่จะสมรสกันนั้นต้องปลอดจากอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะทำให้การนิกะฮ์ใช้ได้หรือไม่ได้ (เคาะฮ์หรือไม่เคาะฮ์) อาทิเช่น การที่ทั้งคู่ไม่ใช่มะห์ร็อม หรือไม่ใช่เป็นเด็กที่เคยดื่มนมจากมารดาคนเดียวกัน เป็นต้น หรือเช่นการที่ฝ่ายชายเป็นกาฟิร แต่ฝ่ายหญิงเป็นมุสลิม และสาเหตุอื่น ๆประการที่ 2 มีการเสนอ(อิญาบ) ด้วยวาจาจากวลี หรือจากคนที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่วลี โดยการกล่าวว่า ฉันจัดการแต่งงานท่านกับคนนั้นคนนี้หรือสำนวนในทำนองนี้ประการที่ 3 มีการสนอง(เกาะบูล) ด้วยวาจาจากฝ่ายขายหรือจากคนที่ได้รับมอบหมาย โดยการกล่าวว่า ฉันรับแต่งงาน หรือสำนวนในทำนองนี้



ส่วนเงื่อนไขที่ทำให้การแต่งงานนั้นถูกต้องได้แก่
ประการที่ 1 มีการระบุฝ่ายชายและฝ่ายหญิงอย่างชัดเจนด้วยการชี้ตัวให้ทราบ หรือการกล่าวชื่อ หรือการบอกลักษณะเป็นต้นประการที่ 2 ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต่างเต็มใจทั้งสองฝ่าย มีวจนะจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ว่า หญิงที่เคยแต่งงานแล้ว (ไม่ว่าจะเกิดจากสามีเสียชีวิตหรือถูกหย่า) จะไม่แต่งงาน เว้นแต่นางจะถูกความต้องการของนาง (หมายถึงนางต้องตอบด้วยการกล่าวที่ชัดเจน)หญิงสาวจะไม่แต่งงาน จนกว่านางจะถูกขออนุญาต (หมายถึงนางต้องเห็นพ้องด้วยวาจาหรือการเงียบ)พวกเขาถามว่า โอ้ เราะซูลของอัลลอฮ์ การอนุญาตของนางคืออะไร(หมายถึงนางมีความหมาย)ท่านกล่าวว่าคือการเงียบประการที่ 3 วลีของฝ่ายหญิงเป็นคนจัดการนิกะฮ์ให้เนื่องจากอัลลอฮ์ ซุฮานะฮ์ วะ ตะอาลา ได้กำหนดให้วลีเป็นคนนิกาฮ์และจงให้พวกเจ้าแต่งงานกับผู้เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้กล่าวว่า สตรีนางใดที่นิกาฮ์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากวลีของนางการนิกาฮ์นั้นโมฆะ การนิกฮ์นั้นโมฆะการนิกาฮ์นั้นโมฆะประการที่ 4 มีพยานรู้เห็นในการทำพิธีนิกาฮ์ อันเนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ไดกล่าวว่า ไม่มีการนิกะฮ์ เว้นแต่ต้องมีวลีและพยานสองคน และควรจะให้มีการประกาศข่าวการนิกาฮ์ เนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮ์ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม พวกท่านทั้งหลายจงประกาศข่าวการนิกาฮ์
อะไรคือเงื่อนไขของคนที่จะเป็นพยาน
คำถาม อะไรคือเงื่อนไขของคนที่จะเป็นพยานคำตอบ เงื่อนไขของคนที่จะเป็นพยาน มี 13 ประการ คือ1 นับถือศาสนาอิสลาม2 มีสติสมบูรณ์3 บรรลุนิติภาวะ4 เป็นอิสระชน (ไม่เป็นทาส)5 เป็นชาย6 มีความยุติธรรม7 ไม่เป็นคน ?ฟาซิก?8 สามารถได้ยิน และมองเห็น9 เข้าใจภาษาที่ใช้การอิญาบ กอบูล (คำเสนอแนะคำสนอง)10 มีความจำที่ดี11 มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์12 ไม่ถูกบังคับ13 ไม่อยู่ระหว่างการครองเอียะห์รอม


อะไรคือเงื่อนไขของบุคคลที่จะเป็นวลี(ผู้ปกครองเจ้าสาว)
คำถาม อะไรคือเงื่อนไขของบุคคลที่จะเป็นวลี(ผู้ปกครองเจ้าสาว) คำตอบ เงื่อนไขของวลีมี 9 ประการ1 นับถือศาสนาอิสลาม2 มีสติสมบูรณ์3 บรรลุนิติภาวะ4 เป็นอิสระชน (ไม่เป็นทาส)5 เป็นชาย6 มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์7 ไม่อยู่ระหว่างการครองเอียะห์รอม8 มีความยุติธรรม9 ไม่ถูกบังคับ
เงื่อนไขของอิญาบ กอบูล (การกล่าวคำเสนอและสนอง) มีอะไรบ้าง
คำถาม เงื่อนไขของอิญาบ กอบูล (การกล่าวคำเสนอและสนอง) มีอะไรบ้างคำตอบ เงื่อนไขของอิญาบ กอบูล มี 9 ประการ ได้แก่1 คำกล่าวที่ชัดเจน (ซอเรียะห์)2 ต้องไม่ใช่สัญญาณ3 ไม่มีเงื่อนไขที่ขัดกับวัตถุประสงค์ของการแต่งงาน4 ความหมายของอิญาบ กอบูล ต้องสอดคล้องกัน5 ต้องติดต่อกัน6 ต้องเป็นคำกล่าวที่สามารถได้ยินได้7 ไม่มีการกำหนดเวลา8 มีเจ้าบ่าวเจ้าสางที่แน่ชัด9 วะลีมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนทุกประการ
Ref. : การแต่งงานและการมีเพศสัมพันธ์ แปลโดย มุสตอฟา ฮานาฟี
การแต่งงานอย่างไร ที่ถูกต้องตามหลักของศาสนา
คำถาม การแต่งงานอย่างไร ที่ถูกต้องตามหลักของศาสนาคำตอบ การแต่งงานที่ถูกต้อง (เซาะห์) หรือใช้ได้ตามหลักของศาสนานั้น คือจะต้องเป็นการแต่งงานที่ครบถ้วนด้วยเงื่อนไข และรุ่กุ่นของการแต่งงานรุ่กุ่นของการแต่งงานนั้นมี 5 ประการ1 เจ้าบ่าว2 เจ้าสาว3 วลี (ผู้ปกครองของเจ้าสาว)4 พยาน 2 คน5 อิญาบ และกอบูล (คำกล่าวเสนอและคำกล่าวสนองการแต่งงาน)